ทุเรียน "หมอนทอง" ฤดูกาลแรกชาวจันท์เฮ ราคาพุ่งกิโลละ 260

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ... หลังลงตรวจสอบพื้นที่ชาวจันท์พบว่าฤดูกาลนี้ทุเรียนหมอนทองมีราคาพุ่งสูงถึง 260 บาทต่อกิโล แต่ยังเน้นย้ำการตัดทุเรียนในช่วงนี้ต้องขออนุญาตเกษตรอำเภอก่อนตัด และตรวจสอบเปอร์เซ็นต์แป้งจากกรมวิชาการเกษตร เพื่อป้องกันไม่ให้มีทุเรียนอ่อน ทำให้คุณภาพลดลง

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้การรับซื้อทุเรียนหมอนทองของจังหวัดจันทบุรีราคาสูงถึงกิโลกรัม (กก) ละ 260 บาท เพราะเป็นช่วงต้นฤดู ผลผลิตยังออกน้อย ส่งผลให้ราคาสูง แต่ขอย้ำกับเกษตรกรว่า อย่าตัดทุเรียนอ่อนเพราะจะทำให้ได้คุณภาพไม่ดี โดยก่อนตัดต้องขออนุญาตเกษตรอำเภอก่อน และให้กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบเปอร์เซ็นต์แป้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ตัดทุเรียนอ่อน

“จันทบุรีมีความพร้อมในการส่งออก เพราะมีปริมาณผลผลิตเพียงพอ แต่จะต้องวางแผนให้มีการตรวจสอบเสริมสร้างคุณภาพให้ชาวสวนก่อนตัด โดยจันทบุรีสามารถผลิตทุเรียนได้ปีละราว 500,000 ตัน ในช่วงที่ผลผลิตออกมาก อาจต้องใช้แรงงานถูกกฎหมายจากนอกพื้นที่มาตัดทุเรียน และถ้ามีป้ายรับรองคุณภาพ การส่งออกก็จะเร็วขึ้น คนจีนกินทุเรียนทั้งแบบสด และแช่แข็ง ปลายเดือน เม.ย.นี้ จะเดินทางไปที่ด่านชายแดนที่เป็นเส้นทางขนส่งทุเรียนของไทยไปจีน เพื่อพูดคุยกับท่านทูตจีน ให้ช่วยอำนวยความสะดวกการค้าให้ ถ้าเห็นว่าอะไรที่เป็นข้อจำกัดจะเจรจาให้ ตอนนี้ให้พาณิชย์จังหวัดไปดูว่าจะมีข้อเจรจาอะไรบ้าง”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากเกษตรกร มือตัด หรือสถานประกอบการ (ล้ง) ผู้จำหน่ายทุเรียนไม่ปฏิบัติตามที่ประกาศไว้ และหากตรวจพบทุเรียนด้อยคุณภาพ ทุเรียนอ่อน ทั้งในสวน รถบรรทุกทุเรียน และภายในโรงคัดบรรจุ จังหวัดจันทบุรีจะใช้มาตรการทางการปกครอง และมาตรการทางกฎหมาย เพื่อลงโทษผู้กระทำผิด

ด้านนายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ได้สั่งการให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง ประเทศจีน หารือผู้บริหารที่กำกับดูแลด่านการค้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกการส่งออกผลไม้ของไทยที่กำลังจะเริ่มออกสู่ตลาดเดือน เม.ย.67 โดยล่าสุด ทูตพาณิชย์ได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการบริหารเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจจีน (บ่อเต็น) ลาว (โม่ฮาน) และสำนักพาณิชย์สิบสองปันนาแล้ว โดยฝ่ายจีนพร้อมอำนวยความสะดวกการส่งออกผลไม้จากไทยผ่านด่านสำคัญต่างๆ โดยไม่มีข้อติดขัดใดๆ และยินดีช่วยเหลือและประสานงานในกรณีที่เกิดปัญหาหรือข้อขัดข้อง

“ปัจจุบันด่านทางบกโม่ฮาน อยู่ระหว่างการเร่งขยายช่องทางขนส่งสินค้าขาเข้า-ขาออกของจีน จากเดิม 4 ช่องทาง เป็น 12 ช่องทาง คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดใช้งานได้อย่างเร็วที่สุดภายในปีนี้ ส่วนทางด่วนบ่อเต็น-ห้วยทราย ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลจีนและลาว คาดว่าจะใช้เวลาการก่อสร้างประมาณ 3 ปี และสำหรับท่าเรือกวนเหล่ย จีนอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการให้เป็นด่านจำเพาะเพื่อการนำเข้าผลไม้โดยด่วนเช่นกัน”

ขณะที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง ประเทศจีน ระบุว่า ทุเรียนอาเซียน โดยเฉพาะทุเรียนไทย ยังคงครองตลาดในจีน เพราะชาวจีนชื่นชอบรสชาติ แม้ปัจจุบัน จีนปลูกทุเรียนได้เอง แต่ยังต้องนำเข้ากว่า 1.4259 ล้านตัน มูลค่า 671,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่ม 72.87% เพราะผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการอันมหาศาลได้ แต่คาดว่าใน 5-10 ปี ผลผลิตของจีนจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น จากปัจจุบันที่จีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนสดจากเวียดนาม และฟิลิปปินส์เพิ่มเติมจากเดิมที่ให้นำเข้าจากไทยเท่านั้น

ดังนั้น เกษตรกรและผู้ส่งออกไทยต้องควบคุมและรักษาคุณภาพทุเรียนส่งออกอย่างเข้มงวดและสม่ำเสมอ ให้ได้คุณภาพความปลอดภัย และปฏิบัติ ตามข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชอย่างเคร่ง ครัด นอกจากนี้ ควรส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การผลิตทุเรียนนอกฤดูกาล เพื่อให้มีผลผลิตตลอดทั้งปี หรือให้ตรงกับช่วงเทศกาลสำคัญของจีน เพื่อให้สามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดในจีนต่อไปอย่างยั่งยืน.

อ้างอิง
: https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2773458
: https://www.dailynews.co.th/news/3289317/

ทุเรียน "หมอนทอง" ฤดูกาลแรกชาวจันท์เฮ ราคาพุ่งกิโลละ 260

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ... หลังลงตรวจสอบพื้นที่ชาวจันท์พบว่าฤดูกาลนี้ทุเรียนหมอนทองมีราคาพุ่งสูงถึง 260 บาทต่อกิโล แต่ยังเน้นย้ำการตัดทุเรียนในช่วงนี้ต้องขออนุญาตเกษตรอำเภอก่อนตัด และตรวจสอบเปอร์เซ็นต์แป้งจากกรมวิชาการเกษตร เพื่อป้องกันไม่ให้มีทุเรียนอ่อน ทำให้คุณภาพลดลง

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้การรับซื้อทุเรียนหมอนทองของจังหวัดจันทบุรีราคาสูงถึงกิโลกรัม (กก) ละ 260 บาท เพราะเป็นช่วงต้นฤดู ผลผลิตยังออกน้อย ส่งผลให้ราคาสูง แต่ขอย้ำกับเกษตรกรว่า อย่าตัดทุเรียนอ่อนเพราะจะทำให้ได้คุณภาพไม่ดี โดยก่อนตัดต้องขออนุญาตเกษตรอำเภอก่อน และให้กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบเปอร์เซ็นต์แป้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ตัดทุเรียนอ่อน

“จันทบุรีมีความพร้อมในการส่งออก เพราะมีปริมาณผลผลิตเพียงพอ แต่จะต้องวางแผนให้มีการตรวจสอบเสริมสร้างคุณภาพให้ชาวสวนก่อนตัด โดยจันทบุรีสามารถผลิตทุเรียนได้ปีละราว 500,000 ตัน ในช่วงที่ผลผลิตออกมาก อาจต้องใช้แรงงานถูกกฎหมายจากนอกพื้นที่มาตัดทุเรียน และถ้ามีป้ายรับรองคุณภาพ การส่งออกก็จะเร็วขึ้น คนจีนกินทุเรียนทั้งแบบสด และแช่แข็ง ปลายเดือน เม.ย.นี้ จะเดินทางไปที่ด่านชายแดนที่เป็นเส้นทางขนส่งทุเรียนของไทยไปจีน เพื่อพูดคุยกับท่านทูตจีน ให้ช่วยอำนวยความสะดวกการค้าให้ ถ้าเห็นว่าอะไรที่เป็นข้อจำกัดจะเจรจาให้ ตอนนี้ให้พาณิชย์จังหวัดไปดูว่าจะมีข้อเจรจาอะไรบ้าง”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากเกษตรกร มือตัด หรือสถานประกอบการ (ล้ง) ผู้จำหน่ายทุเรียนไม่ปฏิบัติตามที่ประกาศไว้ และหากตรวจพบทุเรียนด้อยคุณภาพ ทุเรียนอ่อน ทั้งในสวน รถบรรทุกทุเรียน และภายในโรงคัดบรรจุ จังหวัดจันทบุรีจะใช้มาตรการทางการปกครอง และมาตรการทางกฎหมาย เพื่อลงโทษผู้กระทำผิด

ด้านนายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ได้สั่งการให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง ประเทศจีน หารือผู้บริหารที่กำกับดูแลด่านการค้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกการส่งออกผลไม้ของไทยที่กำลังจะเริ่มออกสู่ตลาดเดือน เม.ย.67 โดยล่าสุด ทูตพาณิชย์ได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการบริหารเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจจีน (บ่อเต็น) ลาว (โม่ฮาน) และสำนักพาณิชย์สิบสองปันนาแล้ว โดยฝ่ายจีนพร้อมอำนวยความสะดวกการส่งออกผลไม้จากไทยผ่านด่านสำคัญต่างๆ โดยไม่มีข้อติดขัดใดๆ และยินดีช่วยเหลือและประสานงานในกรณีที่เกิดปัญหาหรือข้อขัดข้อง

“ปัจจุบันด่านทางบกโม่ฮาน อยู่ระหว่างการเร่งขยายช่องทางขนส่งสินค้าขาเข้า-ขาออกของจีน จากเดิม 4 ช่องทาง เป็น 12 ช่องทาง คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดใช้งานได้อย่างเร็วที่สุดภายในปีนี้ ส่วนทางด่วนบ่อเต็น-ห้วยทราย ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลจีนและลาว คาดว่าจะใช้เวลาการก่อสร้างประมาณ 3 ปี และสำหรับท่าเรือกวนเหล่ย จีนอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการให้เป็นด่านจำเพาะเพื่อการนำเข้าผลไม้โดยด่วนเช่นกัน”

ขณะที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง ประเทศจีน ระบุว่า ทุเรียนอาเซียน โดยเฉพาะทุเรียนไทย ยังคงครองตลาดในจีน เพราะชาวจีนชื่นชอบรสชาติ แม้ปัจจุบัน จีนปลูกทุเรียนได้เอง แต่ยังต้องนำเข้ากว่า 1.4259 ล้านตัน มูลค่า 671,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่ม 72.87% เพราะผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการอันมหาศาลได้ แต่คาดว่าใน 5-10 ปี ผลผลิตของจีนจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น จากปัจจุบันที่จีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนสดจากเวียดนาม และฟิลิปปินส์เพิ่มเติมจากเดิมที่ให้นำเข้าจากไทยเท่านั้น

ดังนั้น เกษตรกรและผู้ส่งออกไทยต้องควบคุมและรักษาคุณภาพทุเรียนส่งออกอย่างเข้มงวดและสม่ำเสมอ ให้ได้คุณภาพความปลอดภัย และปฏิบัติ ตามข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชอย่างเคร่ง ครัด นอกจากนี้ ควรส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การผลิตทุเรียนนอกฤดูกาล เพื่อให้มีผลผลิตตลอดทั้งปี หรือให้ตรงกับช่วงเทศกาลสำคัญของจีน เพื่อให้สามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดในจีนต่อไปอย่างยั่งยืน.

อ้างอิง
: https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2773458
: https://www.dailynews.co.th/news/3289317/

ทุเรียน "หมอนทอง" ฤดูกาลแรกชาวจันท์เฮ ราคาพุ่งกิโลละ 260

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ... หลังลงตรวจสอบพื้นที่ชาวจันท์พบว่าฤดูกาลนี้ทุเรียนหมอนทองมีราคาพุ่งสูงถึง 260 บาทต่อกิโล แต่ยังเน้นย้ำการตัดทุเรียนในช่วงนี้ต้องขออนุญาตเกษตรอำเภอก่อนตัด และตรวจสอบเปอร์เซ็นต์แป้งจากกรมวิชาการเกษตร เพื่อป้องกันไม่ให้มีทุเรียนอ่อน ทำให้คุณภาพลดลง

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้การรับซื้อทุเรียนหมอนทองของจังหวัดจันทบุรีราคาสูงถึงกิโลกรัม (กก) ละ 260 บาท เพราะเป็นช่วงต้นฤดู ผลผลิตยังออกน้อย ส่งผลให้ราคาสูง แต่ขอย้ำกับเกษตรกรว่า อย่าตัดทุเรียนอ่อนเพราะจะทำให้ได้คุณภาพไม่ดี โดยก่อนตัดต้องขออนุญาตเกษตรอำเภอก่อน และให้กรมวิชาการเกษตรตรวจสอบเปอร์เซ็นต์แป้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ตัดทุเรียนอ่อน

“จันทบุรีมีความพร้อมในการส่งออก เพราะมีปริมาณผลผลิตเพียงพอ แต่จะต้องวางแผนให้มีการตรวจสอบเสริมสร้างคุณภาพให้ชาวสวนก่อนตัด โดยจันทบุรีสามารถผลิตทุเรียนได้ปีละราว 500,000 ตัน ในช่วงที่ผลผลิตออกมาก อาจต้องใช้แรงงานถูกกฎหมายจากนอกพื้นที่มาตัดทุเรียน และถ้ามีป้ายรับรองคุณภาพ การส่งออกก็จะเร็วขึ้น คนจีนกินทุเรียนทั้งแบบสด และแช่แข็ง ปลายเดือน เม.ย.นี้ จะเดินทางไปที่ด่านชายแดนที่เป็นเส้นทางขนส่งทุเรียนของไทยไปจีน เพื่อพูดคุยกับท่านทูตจีน ให้ช่วยอำนวยความสะดวกการค้าให้ ถ้าเห็นว่าอะไรที่เป็นข้อจำกัดจะเจรจาให้ ตอนนี้ให้พาณิชย์จังหวัดไปดูว่าจะมีข้อเจรจาอะไรบ้าง”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากเกษตรกร มือตัด หรือสถานประกอบการ (ล้ง) ผู้จำหน่ายทุเรียนไม่ปฏิบัติตามที่ประกาศไว้ และหากตรวจพบทุเรียนด้อยคุณภาพ ทุเรียนอ่อน ทั้งในสวน รถบรรทุกทุเรียน และภายในโรงคัดบรรจุ จังหวัดจันทบุรีจะใช้มาตรการทางการปกครอง และมาตรการทางกฎหมาย เพื่อลงโทษผู้กระทำผิด

ด้านนายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ได้สั่งการให้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง ประเทศจีน หารือผู้บริหารที่กำกับดูแลด่านการค้า เพื่อเตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกการส่งออกผลไม้ของไทยที่กำลังจะเริ่มออกสู่ตลาดเดือน เม.ย.67 โดยล่าสุด ทูตพาณิชย์ได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการบริหารเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจจีน (บ่อเต็น) ลาว (โม่ฮาน) และสำนักพาณิชย์สิบสองปันนาแล้ว โดยฝ่ายจีนพร้อมอำนวยความสะดวกการส่งออกผลไม้จากไทยผ่านด่านสำคัญต่างๆ โดยไม่มีข้อติดขัดใดๆ และยินดีช่วยเหลือและประสานงานในกรณีที่เกิดปัญหาหรือข้อขัดข้อง

“ปัจจุบันด่านทางบกโม่ฮาน อยู่ระหว่างการเร่งขยายช่องทางขนส่งสินค้าขาเข้า-ขาออกของจีน จากเดิม 4 ช่องทาง เป็น 12 ช่องทาง คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดใช้งานได้อย่างเร็วที่สุดภายในปีนี้ ส่วนทางด่วนบ่อเต็น-ห้วยทราย ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลจีนและลาว คาดว่าจะใช้เวลาการก่อสร้างประมาณ 3 ปี และสำหรับท่าเรือกวนเหล่ย จีนอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการให้เป็นด่านจำเพาะเพื่อการนำเข้าผลไม้โดยด่วนเช่นกัน”

ขณะที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองหนานหนิง ประเทศจีน ระบุว่า ทุเรียนอาเซียน โดยเฉพาะทุเรียนไทย ยังคงครองตลาดในจีน เพราะชาวจีนชื่นชอบรสชาติ แม้ปัจจุบัน จีนปลูกทุเรียนได้เอง แต่ยังต้องนำเข้ากว่า 1.4259 ล้านตัน มูลค่า 671,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่ม 72.87% เพราะผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการอันมหาศาลได้ แต่คาดว่าใน 5-10 ปี ผลผลิตของจีนจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น จากปัจจุบันที่จีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนสดจากเวียดนาม และฟิลิปปินส์เพิ่มเติมจากเดิมที่ให้นำเข้าจากไทยเท่านั้น

ดังนั้น เกษตรกรและผู้ส่งออกไทยต้องควบคุมและรักษาคุณภาพทุเรียนส่งออกอย่างเข้มงวดและสม่ำเสมอ ให้ได้คุณภาพความปลอดภัย และปฏิบัติ ตามข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชอย่างเคร่ง ครัด นอกจากนี้ ควรส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การผลิตทุเรียนนอกฤดูกาล เพื่อให้มีผลผลิตตลอดทั้งปี หรือให้ตรงกับช่วงเทศกาลสำคัญของจีน เพื่อให้สามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดในจีนต่อไปอย่างยั่งยืน.

อ้างอิง
: https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2773458
: https://www.dailynews.co.th/news/3289317/

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

@turianyim

ติดตาม ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

จำนวนคนดู: 198