แมลงช้างปีกใส

( Plesiochrysa ramburi )

ความสำคัญของ แมลงช้างปีกใส Plesiochrysa ramburi (Schneider) เป็นแมลงที่มีประโยชน์ ช่วยกำจัดศัตรูพืชที่มีขนาดเล็ก เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว และไรแดง นอกจากนี้ตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใสยังสามารถกินไข่ของผีเสื้อและด้วงปีกแข็งเป็นอาหารได้อีกด้วย ตัวอ่อน ของแมลงช้างปีกใสจะเข้าทำลายเหยื่อโดยใช้ปากที่มีเขี้ยวยาวกัดกินแมลงศัตรูพืชที่มีขนาดเล็ก และผนังลำตัวที่อ่อนนุ่ม ตัวเต็มวัยกินน้ำหวานและน้ำเป็นอาหาร

ลักษณะการทำลายแมลงศัตรูพืช

ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใสเป็นตัวห้ำที่ค่อนข้างดุร้าย โดยบริเวณส่วนหัวมีเขี้ยว ยื่นยาวไปข้างหน้า และ งุ้มเข้าหากันคล้ายเคียว เพื่อใช้จับศัตรูพืช และดูดกินของเหลวจากแมลงศัตรูพืช จนแห้ง โดยตัวอ่อนแมลง ช้างปีกใส Mallada basalis อำพรางตัว โดยการนำเอาซากแมลง ขึ้นไปเก็บบนหลังของมัน จนมองไม่เห็น ลำตัว เวลาเดินมองคล้ายขยะเคลื่อนที่

รูปร่างชีววิทยา
ของแมลงช้างปีกใส

ระยะไข่แมลงช้างปีกใส

ไข่ จะวางไข่เป็นกลุ่มหรือฟองเดี่ยว มีก้านชูสีขาวใสคล้ายเส้นด้าย ลักษณะไข่รูปร่างยาวรี สีเขียวอ่อนเมื่อวางใหม่ๆ เมื่อใกล้ฟักจะกลายเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และจะเปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อฟักแล้ว ไข่มีขนาดความกว้าง ประมาณ 0.4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.7 มิลลิเมตร ระยะการฝักตัวออกจากไข่ประมาณ 3-4 วัน

ระยะตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส

ตัวอ่อน ระยะตัวอ่อนจะมีสีน้ำตาลอ่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่ออายุมากขึ้น บริเวณด้านบนและด้านข้างของลำตัวจะมีเส้นขนจำนวนมากจะเป็นที่ยึดเกาะของเศษอาหารและขยะ ตัวอ่อนที่ออกมาจากไข่จะมีพฤติกรรมเป็นตัวห้ำทันที  ระยะตับอ่อนมี 3 วัย ใช้เวลาประมาณ 10-13 วัน ( ตัวห้ำ หมายถึง แมลงที่กินแมลงเป็นอาหาร )

ระยะดักแด้แมลงช้างปีกใส

ดักแด้ – ตัวอ่อนวัยสุดท้ายจะสร้างเส้นใยสีขาวปกคลุมลำตัว และเข้าดักแด้อยู่ภายใน มักเข้าดักแด้ติดกับใบและกิ่งของพืช หรือภาชนะที่ใช้เลี้ยง มีขนาดประมาณ 5 มม. ดักแด้มีอายุ 10-11 วัน

ระยะตัวเต็มวัย
แมลงช้างปีกใส

ตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีเขียวอ่อน ตาสีทองอมแดง หนวดยาวเรียว ปีกสีเขียวอ่อนใส เห็นเส้นปีกชัดเจน ขนาดเกือบเท่ากันทั้ง 4 ปีก เมื่อเกาะนิ่งปีกจะแอบลำตัวคล้ายรูปหลังคา ตัวเมียมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าตัวผู้หลังจากจับคู่ผสมพันธุ์แล้วในระยะ 2-3 วัน ตัวเมียจะเริ่มวางไข่และตัวเมียสามารถวางไข่ได้ถึง 300-400 ฟอง ตัวผู้เต็มวัยมีอายุประมาณ 15-25 วัน ตัวเมียมีอายุ 20-30 วัน

วิธีการนำไปใช้ควบคุมศัตรูพืช

การปล่อยแมลงช้างปีกใส สามารถปล่อยได้ทั้งระยะไข่และระยะของตัวอ่อน ซึ่งการปล่อยในระยะไข่ จะสะดวกมากกว่าระยะอื่นๆ มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

- การปล่อยแมลงช้างปีกใส ควรสำรวจแปลงปลูกทุกครั้ง จะได้ทราบถึงสถานการณ์การระบาดของแมลง ศัตรูพืช เพื่อจะได้ทราบถึงอัตราการปล่อย

- การปล่อยแมลช้างปีกใส (ระยะตัวอ่อน) อัตราการปล่อย 100 ตัวต่อไร่ เพื่อควบคุมปริมาณศัตรูพืชให้อยู่ในระดับต่ำ หากพบว่ามีแมลงศัตรูพืชปริมาณมาก  ให้ปล่อยตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส1000 ตัวต่อไร่ และให้ทำการปล่อยซ้ำจนกว่า แมลงช้างปีกใสจะสามารถขยายพันธุ์และมีจำนวนมากต่อต้านแมลงศัตรูพืช โดยหลักการปล่อยควรปล่อยเป็นจุดๆหรือให้กระจายทั่วๆทั้งแปลง

- การปล่อยแมลงช้างปีกใส (ระยะไข่) นำแมลงช้างปีกใสที่ใกล้ถึงระยะฟัก ใส่ในถุงหรือซองกระดาษประมาณ 20 ฟองต่อซองนำมาแขวนบนลำต้นพืช จำนวน 10 จุด งดการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงในแปลงที่ปล่อยแมลงช้างปีกใสเพื่อให้เกิดการขยายพันธุ์ในแปลงปลูก

อ้างอิง

http://www.pmc04.doae.go.th/Myweb-2011-data1/05%20Green%20Lacewings-P/Plesio.html
https://mju-bctlc.mju.ac.th/แมลงศัตรูธรรมชาติ-แมลงช้างปีกใส
https://th.wikipedia.org/wiki/แมลงช้างปีกใส
http://www.pmc04.doae.go.th/Home.html

แมลงช้างปีกใส ( Plesiochrysa ramburi )

ความสำคัญของ แมลงช้างปีกใส Plesiochrysa ramburi (Schneider) เป็นแมลงที่มีประโยชน์ ช่วยกำจัดศัตรูพืชที่มีขนาดเล็ก เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว และไรแดง นอกจากนี้ตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใสยังสามารถกินไข่ของผีเสื้อและด้วงปีกแข็งเป็นอาหารได้อีกด้วย ตัวอ่อน ของแมลงช้างปีกใสจะเข้าทำลายเหยื่อโดยใช้ปากที่มีเขี้ยวยาวกัดกินแมลงศัตรูพืชที่มีขนาดเล็ก และผนังลำตัวที่อ่อนนุ่ม ตัวเต็มวัยกินน้ำหวานและน้ำเป็นอาหาร

ลักษณะการทำลายแมลงศัตรูพืช

ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใสเป็นตัวห้ำที่ค่อนข้างดุร้าย โดยบริเวณส่วนหัวมีเขี้ยว ยื่นยาวไปข้างหน้า และ งุ้มเข้าหากันคล้ายเคียว เพื่อใช้จับศัตรูพืช และดูดกินของเหลวจากแมลงศัตรูพืช จนแห้ง โดยตัวอ่อนแมลง ช้างปีกใส Mallada basalis อำพรางตัว โดยการนำเอาซากแมลง ขึ้นไปเก็บบนหลังของมัน จนมองไม่เห็น ลำตัว เวลาเดินมองคล้ายขยะเคลื่อนที่

รูปร่างชีววิทยาของแมลงช้างปีกใส

ระยะไข่แมลงช้างปีกใส

ไข่ จะวางไข่เป็นกลุ่มหรือฟองเดี่ยว มีก้านชูสีขาวใสคล้ายเส้นด้าย ลักษณะไข่รูปร่างยาวรี สีเขียวอ่อนเมื่อวางใหม่ๆ เมื่อใกล้ฟักจะกลายเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และจะเปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อฟักแล้ว ไข่มีขนาดความกว้าง ประมาณ 0.4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.7 มิลลิเมตร ระยะการฝักตัวออกจากไข่ประมาณ 3-4 วัน

ระยะตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส

ตัวอ่อน ระยะตัวอ่อนจะมีสีน้ำตาลอ่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่ออายุมากขึ้น บริเวณด้านบนและด้านข้างของลำตัวจะมีเส้นขนจำนวนมากจะเป็นที่ยึดเกาะของเศษอาหารและขยะ ตัวอ่อนที่ออกมาจากไข่จะมีพฤติกรรมเป็นตัวห้ำทันที  ระยะตับอ่อนมี 3 วัย ใช้เวลาประมาณ 10-13 วัน ( ตัวห้ำ หมายถึง แมลงที่กินแมลงเป็นอาหาร )

ระยะดักแด้แมลงช้างปีกใส

ดักแด้ – ตัวอ่อนวัยสุดท้ายจะสร้างเส้นใยสีขาวปกคลุมลำตัว และเข้าดักแด้อยู่ภายใน มักเข้าดักแด้ติดกับใบและกิ่งของพืช หรือภาชนะที่ใช้เลี้ยง มีขนาดประมาณ 5 มม. ดักแด้มีอายุ 10-11 วัน

ระยะตัวเต็มวัยแมลงช้างปีกใส

ตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีเขียวอ่อน ตาสีทองอมแดง หนวดยาวเรียว ปีกสีเขียวอ่อนใส เห็นเส้นปีกชัดเจน ขนาดเกือบเท่ากันทั้ง 4 ปีก เมื่อเกาะนิ่งปีกจะแอบลำตัวคล้ายรูปหลังคา ตัวเมียมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าตัวผู้หลังจากจับคู่ผสมพันธุ์แล้วในระยะ 2-3 วัน ตัวเมียจะเริ่มวางไข่และตัวเมียสามารถวางไข่ได้ถึง 300-400 ฟอง ตัวผู้เต็มวัยมีอายุประมาณ 15-25 วัน ตัวเมียมีอายุ 20-30 วัน

วิธีการนำไปใช้ควบคุมศัตรูพืช

การปล่อยแมลงช้างปีกใส สามารถปล่อยได้ทั้งระยะไข่และระยะของตัวอ่อน ซึ่งการปล่อยในระยะไข่ จะสะดวกมากกว่าระยะอื่นๆ มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

- การปล่อยแมลงช้างปีกใส ควรสำรวจแปลงปลูกทุกครั้ง จะได้ทราบถึงสถานการณ์การระบาดของแมลง ศัตรูพืช เพื่อจะได้ทราบถึงอัตราการปล่อย

- การปล่อยแมลช้างปีกใส (ระยะตัวอ่อน) อัตราการปล่อย 100 ตัวต่อไร่ เพื่อควบคุมปริมาณศัตรูพืชให้อยู่ในระดับต่ำ หากพบว่ามีแมลงศัตรูพืชปริมาณมาก  ให้ปล่อยตัวอ่อนแมลงช้างปีกใส1000 ตัวต่อไร่ และให้ทำการปล่อยซ้ำจนกว่า แมลงช้างปีกใสจะสามารถขยายพันธุ์และมีจำนวนมากต่อต้านแมลงศัตรูพืช โดยหลักการปล่อยควรปล่อยเป็นจุดๆหรือให้กระจายทั่วๆทั้งแปลง

- การปล่อยแมลงช้างปีกใส (ระยะไข่) นำแมลงช้างปีกใสที่ใกล้ถึงระยะฟัก ใส่ในถุงหรือซองกระดาษประมาณ 20 ฟองต่อซองนำมาแขวนบนลำต้นพืช จำนวน 10 จุด งดการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงในแปลงที่ปล่อยแมลงช้างปีกใสเพื่อให้เกิดการขยายพันธุ์ในแปลงปลูก

อ้างอิง

http://www.pmc04.doae.go.th/Myweb-2011-data1/05%20Green%20Lacewings-P/Plesio.html
https://mju-bctlc.mju.ac.th/แมลงศัตรูธรรมชาติ-แมลงช้างปีกใส
https://th.wikipedia.org/wiki/แมลงช้างปีกใส
http://www.pmc04.doae.go.th/Home.html

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

@turianyim

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

ติดตาม ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

จำนวนคนดู: 378