จีนนำเข้า "ทุเรียนไทย" เพิ่มขึ้น 11 เท่า
ส่งขายหลายมณฑลมากขึ้น
แต่ "เวียดนามตีตลาดแข่งขันการส่งออก"

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผย จีนนำเข้าทุเรียน เพิ่มขึ้น 11 เท่า มูลค่าพุ่ง 6.7 พันล้านดอลลาร์ ขณะ “ทุเรียนไทย” ส่งตรง ขายได้หลายมณฑลมากขึ้น แต่ทุเรียนเวียดนาม ก็ตามไปแข่งทุกพื้นที่

สถานการณ์ส่งออกไทย กำลังน่าเป็นห่วง จากแนวโน้มขาดดุลสินค้า กับคู่ค้าสำคัญ อันดับ 2 อย่างประเทศจีนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าประเภทรถยนต์ แต่พบว่า “ผลไม้” ยังช่วยพยุง กลายเป็นกลุ่มสินค้าที่ทำให้ไทยเกินดุลกับจีนอยู่ได้บ้าง เนื่องจากจีนนำเข้าผลไม้จากไทยเป็น อันดับ 1 (มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 37%) ขณะ “ทุเรียน” ได้รับความนิยมสูง คิดเป็นสัดส่วน ของการส่งออกผลไม้ของไทยไปจีนมากถึง 14% ล่าสุด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยสถานการณ์ปัจจุบันว่า ทุเรียนไทย สามารถส่งตรงไปขายแต่ละมณฑลของจีน ผ่านช่องทางการค้าที่สะดวกมากขึ้น ภายใต้ความสำคัญที่ว่า “ทุเรียน” เป็นผลไม้สร้างรายได้หลักให้แก่ไทย เป็นผลไม้ส่งออกหลัก สัดส่วน 69% ในปี 2566 ที่ผ่านมา ขณะ 97% นั้น หรือเกือบทั้งหมด ส่งออกไปยังจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และ อื่นๆ

ผ่านช่องทางการค้าที่หลากหลายมากขึ้น ต่างจากอดีตที่เน้นไปที่ทางเรือ
53% ขนส่งด้วยรถผ่านแดนไปจีน
41% ขนส่งทางทะเล และทางอากาศ
5% ขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูง จีน-สปป.ลาว

อันเนื่องมาจาก จีนมีความนิยมทุเรียนมากขึ้น ภาพรวมจีนนำเข้าทุเรียนเพิ่มขึ้นถึง 11 เท่าตัว หลายมณฑล มูลค่าราว 6,715 ล้านดอลลาร์ ซึ่งกระจายตัวมากกว่าก่อนหน้า จากอดีตที่ใช้มณฑลกวางตุ้งเป็นช่องทางหลัก
อันดับ 1 กวางตุ้ง
อันดับ 2 กว่างซีจ้วง
อันดับ 3 ยูนนาน
อันดับ 4 เจ้อเจียง
อันดับ 5 ฉงชิ่ง
อย่างไรก็ตาม พบว่า แม้ว่าไทยสามารถส่งตรงทุเรียนไปขายได้หลายมณฑลของจีนได้มากขึ้น แต่ก็พบว่า ทุเรียนเวียดนามก็ตามไปแข่งขันทุเรียนไทยในทุกพื้นที่เช่นกัน ซึ่งก็มาจากเวียดนามได้มีการปลูกและ พัฒนาสายพันธุ์ทุเรียนที่ก้าวหน้ามากขึ้นนั่นเอง

จีนนำเข้า "ทุเรียนไทย" เพิ่มขึ้น 11 เท่า ส่งขายหลายมณฑลมากขึ้น
แต่ "เวียดนามตีตลาดแข่งขันการส่งออก"

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผย จีนนำเข้าทุเรียน เพิ่มขึ้น 11 เท่า มูลค่าพุ่ง 6.7 พันล้านดอลลาร์ ขณะ “ทุเรียนไทย” ส่งตรง ขายได้หลายมณฑลมากขึ้น แต่ทุเรียนเวียดนาม ก็ตามไปแข่งทุกพื้นที่

สถานการณ์ส่งออกไทย กำลังน่าเป็นห่วง จากแนวโน้มขาดดุลสินค้า กับคู่ค้าสำคัญ อันดับ 2 อย่างประเทศจีนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าประเภทรถยนต์ แต่พบว่า “ผลไม้” ยังช่วยพยุง กลายเป็นกลุ่มสินค้าที่ทำให้ไทยเกินดุลกับจีนอยู่ได้บ้าง เนื่องจากจีนนำเข้าผลไม้จากไทยเป็น อันดับ 1 (มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 37%) ขณะ “ทุเรียน” ได้รับความนิยมสูง คิดเป็นสัดส่วน ของการส่งออกผลไม้ของไทยไปจีนมากถึง 14% ล่าสุด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยสถานการณ์ปัจจุบันว่า ทุเรียนไทย สามารถส่งตรงไปขายแต่ละมณฑลของจีน ผ่านช่องทางการค้าที่สะดวกมากขึ้น ภายใต้ความสำคัญที่ว่า “ทุเรียน” เป็นผลไม้สร้างรายได้หลักให้แก่ไทย เป็นผลไม้ส่งออกหลัก สัดส่วน 69% ในปี 2566 ที่ผ่านมา ขณะ 97% นั้น หรือเกือบทั้งหมด ส่งออกไปยังจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และ อื่นๆ

ผ่านช่องทางการค้าที่หลากหลายมากขึ้น ต่างจากอดีตที่เน้นไปที่ทางเรือ
53% ขนส่งด้วยรถผ่านแดนไปจีน
41% ขนส่งทางทะเล และทางอากาศ
5% ขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูง จีน-สปป.ลาว

อันเนื่องมาจาก จีนมีความนิยมทุเรียนมากขึ้น ภาพรวมจีนนำเข้าทุเรียนเพิ่มขึ้นถึง 11 เท่าตัว หลายมณฑล มูลค่าราว 6,715 ล้านดอลลาร์ ซึ่งกระจายตัวมากกว่าก่อนหน้า จากอดีตที่ใช้มณฑลกวางตุ้งเป็นช่องทางหลัก
อันดับ 1 กวางตุ้ง
อันดับ 2 กว่างซีจ้วง
อันดับ 3 ยูนนาน
อันดับ 4 เจ้อเจียง
อันดับ 5 ฉงชิ่ง
อย่างไรก็ตาม พบว่า แม้ว่าไทยสามารถส่งตรงทุเรียนไปขายได้หลายมณฑลของจีนได้มากขึ้น แต่ก็พบว่า ทุเรียนเวียดนามก็ตามไปแข่งขันทุเรียนไทยในทุกพื้นที่เช่นกัน ซึ่งก็มาจากเวียดนามได้มีการปลูกและ พัฒนาสายพันธุ์ทุเรียนที่ก้าวหน้ามากขึ้นนั่นเอง

จีนนำเข้า "ทุเรียนไทย" เพิ่มขึ้น 11 เท่า ส่งขายหลายมณฑลมากขึ้น
แต่ "เวียดนามตีตลาดแข่งขันการส่งออก"

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผย จีนนำเข้าทุเรียน เพิ่มขึ้น 11 เท่า มูลค่าพุ่ง 6.7 พันล้านดอลลาร์ ขณะ “ทุเรียนไทย” ส่งตรง ขายได้หลายมณฑลมากขึ้น แต่ทุเรียนเวียดนาม ก็ตามไปแข่งทุกพื้นที่

สถานการณ์ส่งออกไทย กำลังน่าเป็นห่วง จากแนวโน้มขาดดุลสินค้า กับคู่ค้าสำคัญ อันดับ 2 อย่างประเทศจีนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าประเภทรถยนต์ แต่พบว่า “ผลไม้” ยังช่วยพยุง กลายเป็นกลุ่มสินค้าที่ทำให้ไทยเกินดุลกับจีนอยู่ได้บ้าง เนื่องจากจีนนำเข้าผลไม้จากไทยเป็น อันดับ 1 (มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 37%) ขณะ “ทุเรียน” ได้รับความนิยมสูง คิดเป็นสัดส่วน ของการส่งออกผลไม้ของไทยไปจีนมากถึง 14% ล่าสุด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยสถานการณ์ปัจจุบันว่า ทุเรียนไทย สามารถส่งตรงไปขายแต่ละมณฑลของจีน ผ่านช่องทางการค้าที่สะดวกมากขึ้น ภายใต้ความสำคัญที่ว่า “ทุเรียน” เป็นผลไม้สร้างรายได้หลักให้แก่ไทย เป็นผลไม้ส่งออกหลัก สัดส่วน 69% ในปี 2566 ที่ผ่านมา ขณะ 97% นั้น หรือเกือบทั้งหมด ส่งออกไปยังจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และ อื่นๆ

ผ่านช่องทางการค้าที่หลากหลายมากขึ้น ต่างจากอดีตที่เน้นไปที่ทางเรือ
53% ขนส่งด้วยรถผ่านแดนไปจีน
41% ขนส่งทางทะเล และทางอากาศ
5% ขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูง จีน-สปป.ลาว

อันเนื่องมาจาก จีนมีความนิยมทุเรียนมากขึ้น ภาพรวมจีนนำเข้าทุเรียนเพิ่มขึ้นถึง 11 เท่าตัว หลายมณฑล มูลค่าราว 6,715 ล้านดอลลาร์ ซึ่งกระจายตัวมากกว่าก่อนหน้า จากอดีตที่ใช้มณฑลกวางตุ้งเป็นช่องทางหลัก
อันดับ 1 กวางตุ้ง
อันดับ 2 กว่างซีจ้วง
อันดับ 3 ยูนนาน
อันดับ 4 เจ้อเจียง
อันดับ 5 ฉงชิ่ง
อย่างไรก็ตาม พบว่า แม้ว่าไทยสามารถส่งตรงทุเรียนไปขายได้หลายมณฑลของจีนได้มากขึ้น แต่ก็พบว่า ทุเรียนเวียดนามก็ตามไปแข่งขันทุเรียนไทยในทุกพื้นที่เช่นกัน ซึ่งก็มาจากเวียดนามได้มีการปลูกและ พัฒนาสายพันธุ์ทุเรียนที่ก้าวหน้ามากขึ้นนั่นเอง

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

@turianyim

ติดตาม ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

จำนวนคนดู: 165