โรคราสีชมพู

สาเหตุ เชื้อราครอติเซียม (Corticium salmonicolor)

ราหรือเชื้อราคืออะไร

รา หรือ เชื้อรา เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่อยู่ในอาณาจักรรา (Fungi) ซึ่งประกอบด้วยรา เห็ด และยีสต์ โดยรามีลักษณะเป็นเส้นใยสีต่าง ๆ ได้แก่ เขียว แดง เหลือง ฟ้า ขาว มีหน้าที่ยึดติดกับอาหาร สืบพันธุ์ รวมไปถึงสร้างสปอร์ ราสีชมพู (Corticium salmonicolor) เป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุของโรคราสีชมพู (Pink Disease) ในพืชหลายชนิด ได้แก่ ทุเรียน ลำไยยางพารา ทุเรียน ลองกอง เงาะ มะม่วง ส้ม พริกไทย ระยะแรก เชื้อราจะงอกเส้นใยสีขาวหนาทึบเป็นปื้นปกคลุมบริเวณกิ่ง ง่ามกิ่ง และลำต้น ดูดเอาน้ำเลี้ยงและอาหารของพืชจากชั้นเปลือกไม้ เมื่อเจริญเติบโต และมีอายุมากขึ้นเส้นใยจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีชมพู ยึดแน่นกับกิ่งไม้ กิ่งของพืชที่เป็นโรคจะเหี่ยว ใบเหลือง และร่วงเป็นหย่อม ๆ ต่อมากิ่งพืชก็จะแห้งตายในที่สุด

การแพร่ระบาดของเชื้อรา

เชื้อราชนิดนี้จะรุนแรงและระบาดหนักในช่วงที่สภาพอากาศมีความชุ่มชื้น (ช่วงที่ฝนตกหนักและมีน้ำขัง) มักพบกับต้นทุเรียนที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่งทำให้มีความทึบแสงส่องเข้าไปไม่ถึง ในต้นทุเรียนกิ่งที่ทับซ้อนกันมักจะเกิดความชื้นเป็นที่สะสมของเชื้อราก่อโรคจึงทำให้เชื้อติดต่อและเจริญถึงกันได้ง่าย เมื่ออากาศร้อนหรือแห้งแล้ง เชื้อราก่อโรคจะพักตัวและจะมาเจริญลุกลามในช่วงฤดูฝน(หรือช่วงที่มีความชื้น) อีกครั้ง โดยหลักๆแล้วการแพร่ระบาดของเชื้อราก่อโรคชนิดนี้จะระบาดและแพร่เชื้อทางลมและฝนเป็นหลัก

ลักษณะอาการ

ต้นของทุเรียนที่เป็นโรค จะมีอาการใบหลุดร่วง (ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเหมือนกับขาดสารอาหาร) เมื่อสังเกตอาการจะคล้ายๆกับอาการของโรครากเน่าโคนเน่า ในส่วนของกิ่งทุเรียนที่ถูกเชื้อราก่อโรคเข้าทำลายในระยะแรกจะพบลักษณะเป็นเส้นใยสีขาว (คือเส้นใยของเชื้อราก่อโรค) โดยจะเจริญเชื้อปกคลุมส่วนของกิ่งและลำต้นต่อมาลักษณะเส้นใยสีขาวนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีครีมอ่อนๆจนกลายเป็นสีชมพูอ่อนจนถึงชมพูเข้ม และเมื่อเชื้อราเจริญมากขึ้นก็จะแห้งและตายในที่สุด

วิธีการป้องกันกำจัด 

1. ควรตัดแต่งกิ่งหรือส่วนของลำต้นที่มีเชื้อราก่อโรคทิ้งไป และไปเผาทำลายนอกพื้นที่ปลูก เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราอีกครั้ง 

2. ในส่วนของสวนไหนที่ยังไม่เกิดเชื้อรานี้ ควรตัดแต่งกิ่งให้มีโปร่งแสงส่องทั่วถึงป้องกันความชื้นที่จะเกิดขึ้น 

3. ชาวสวนควรหมั่นตรวจดูต้นทุเรียนในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงของหน้าฝนที่มีการระบาดหนักของเชื้อราชนิดนี้ 

4. เมื่อพบอาการโรคระบาดรุนแรง นอกจากตัดกิ่งที่เป็นโรคออกเผาทำลายแล้ว ให้ฉีดพ่นลำต้นและกิ่งให้ทั่วด้วยสารเคมีป้องกันกำ จัดโรค ได้แก่ คาร์เบนดาซิม 60% WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกชีคลอไรด์ 85% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม-รวมส่งฟรี

ราหรือเชื้อราคืออะไร

รา หรือ เชื้อรา เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่อยู่ในอาณาจักรรา (Fungi) ซึ่งประกอบด้วยรา เห็ด และยีสต์ โดยรามีลักษณะเป็นเส้นใยสีต่าง ๆ ได้แก่ เขียว แดง เหลือง ฟ้า ขาว มีหน้าที่ยึดติดกับอาหาร สืบพันธุ์ รวมไปถึงสร้างสปอร์ ราสีชมพู (Corticium salmonicolor) เป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุของโรคราสีชมพู (Pink Disease) ในพืชหลายชนิด ได้แก่ ทุเรียน ลำไยยางพารา ทุเรียน ลองกอง เงาะ มะม่วง ส้ม พริกไทย ระยะแรก เชื้อราจะงอกเส้นใยสีขาวหนาทึบเป็นปื้นปกคลุมบริเวณกิ่ง ง่ามกิ่ง และลำต้น ดูดเอาน้ำเลี้ยงและอาหารของพืชจากชั้นเปลือกไม้ เมื่อเจริญเติบโต และมีอายุมากขึ้นเส้นใยจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีชมพู ยึดแน่นกับกิ่งไม้ กิ่งของพืชที่เป็นโรคจะเหี่ยว ใบเหลือง และร่วงเป็นหย่อม ๆ ต่อมากิ่งพืชก็จะแห้งตายในที่สุด

การแพร่ระบาดของเชื้อรา

เชื้อราชนิดนี้จะรุนแรงและระบาดหนักในช่วงที่สภาพอากาศมีความชุ่มชื้น (ช่วงที่ฝนตกหนักและมีน้ำขัง) มักพบกับต้นทุเรียนที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่งทำให้มีความทึบแสงส่องเข้าไปไม่ถึง ในต้นทุเรียนกิ่งที่ทับซ้อนกันมักจะเกิดความชื้นเป็นที่สะสมของเชื้อราก่อโรคจึงทำให้เชื้อติดต่อและเจริญถึงกันได้ง่าย เมื่ออากาศร้อนหรือแห้งแล้ง เชื้อราก่อโรคจะพักตัวและจะมาเจริญลุกลามในช่วงฤดูฝน(หรือช่วงที่มีความชื้น) อีกครั้ง โดยหลักๆแล้วการแพร่ระบาดของเชื้อราก่อโรคชนิดนี้จะระบาดและแพร่เชื้อทางลมและฝนเป็นหลัก

ลักษณะอาการ

ต้นของทุเรียนที่เป็นโรค จะมีอาการใบหลุดร่วง (ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเหมือนกับขาดสารอาหาร) เมื่อสังเกตอาการจะคล้ายๆกับอาการของโรครากเน่าโคนเน่า ในส่วนของกิ่งทุเรียนที่ถูกเชื้อราก่อโรคเข้าทำลายในระยะแรกจะพบลักษณะเป็นเส้นใยสีขาว (คือเส้นใยของเชื้อราก่อโรค) โดยจะเจริญเชื้อปกคลุมส่วนของกิ่งและลำต้นต่อมาลักษณะเส้นใยสีขาวนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีครีมอ่อนๆจนกลายเป็นสีชมพูอ่อนจนถึงชมพูเข้ม และเมื่อเชื้อราเจริญมากขึ้นก็จะแห้งและตายในที่สุด

วิธีการป้องกันกำจัด 

1. ควรตัดแต่งกิ่งหรือส่วนของลำต้นที่มีเชื้อราก่อโรคทิ้งไป และไปเผาทำลายนอกพื้นที่ปลูก เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราอีกครั้ง 

2. ในส่วนของสวนไหนที่ยังไม่เกิดเชื้อรานี้ ควรตัดแต่งกิ่งให้มีโปร่งแสงส่องทั่วถึงป้องกันความชื้นที่จะเกิดขึ้น 

3. ชาวสวนควรหมั่นตรวจดูต้นทุเรียนในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงของหน้าฝนที่มีการระบาดหนักของเชื้อราชนิดนี้ 

4. เมื่อพบอาการโรคระบาดรุนแรง นอกจากตัดกิ่งที่เป็นโรคออกเผาทำลายแล้ว ให้ฉีดพ่นลำต้นและกิ่งให้ทั่วด้วยสารเคมีป้องกันกำ จัดโรค 
ได้แก่ คาร์เบนดาซิม 60% WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกชีคลอไรด์ 85% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

ติดตาม ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

@turianyim
จำนวนคนดู: 956