โรคกิ่งแห้งทุเรียน

สาเหตุอาการก่อโรค เชื้อราฟิวซาเรียม โซลาไน (Fusarium solani)

ลักษณะอาการของโรค

ลักษณะอาการของโรคกิ่งแห้ง เชื้อราฟิวซาเรียมจะเข้าทำลายส่วนของระบบท่อน้ำเลี้ยงและระบบของท่ออาหารภายในลำต้น ส่งผลให้ระบบภายในลำต้นเสียหายระบบท่อน้ำและท่ออาหารไม่สามารถดูดซึมธาตุอาหารและน้ำมาเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นได้ ทำให้กิ่งแห้งลำต้นซีด ใบเหลืองเนื่องจากขาดธาตุอาหารและน้ำ ใบร่วงและยืนต้นตายในที่สุด

การแพร่ระบาด

เชื้อราฟิวซาเรียมคือเชื้อราสาเหตุของการเกิดกิ่งแห้ง ซึ่งการแพร่ระบาดของเชื้อราสามารถแพร่ระบาดได้ทั้งในดิน ทางอากาศ และทางน้ำ สามารถแพร่กระจายจากต้นสู่ต้นได้ดังนั้นการหมั่นสำรวจแปลงปลูกจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราซ้ำ ๆ ในการแพร่ระบาดของเชื้อราฟิวซาเรียมแตกต่างกับเชื้อราไฟทอปธอร่าอยู่ที่ เชื้อราไฟทอปธอสามารถแพร่กระจายและเพาะเชื้ออยู่ในแหล่งน้ำและกระจายตัวออกไปได้ แต่เชื้อราฟิวซาเรียมไม่สามารถเพาะเชื้อในแหล่งน้ำและกระจายตัวเองได้ ระดับความรุนแรงของเชื้อราทั้ง 2 ชนิดถือว่ามีความรุนแรงที่ใกล้เคียงกันสามารถสร้างความเสียหายให้กับแปลงปลูกได้จำนวนมาก

แนวทางแก้ไขป้องกันกำจัด

1. ควรทำการตัดแต่งกิ่งต้นทุเรียนให้มีทรงพุ่มโปร่งพอสมควร เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้
2. เก็บและรวบรวมเศษใบเป็นโรคที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้น แล้วนำไปเผาทำลายเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคในแปลงปลูกให้น้อยลง
3. ในแหล่งปลูกที่สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรค เกษตรกรควรตรวจตราผลทุเรียนในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ

โรคกิ่งแห้งทุเรียน

สาเหตุอาการก่อโรค เชื้อราฟิวซาเรียม โซลาไน (Fusarium solani)

ลักษณะอาการของโรค

ลักษณะอาการของโรคกิ่งแห้ง เชื้อราฟิวซาเรียมจะเข้าทำลายส่วนของระบบท่อน้ำเลี้ยงและระบบของท่ออาหารภายในลำต้น ส่งผลให้ระบบภายในลำต้นเสียหายระบบท่อน้ำและท่ออาหารไม่สามารถดูดซึมธาตุอาหารและน้ำมาเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นได้ ทำให้กิ่งแห้งลำต้นซีด ใบเหลืองเนื่องจากขาดธาตุอาหารและน้ำ ใบร่วงและยืนต้นตายในที่สุด

การแพร่ระบาด

เชื้อราฟิวซาเรียมคือเชื้อราสาเหตุของการเกิดกิ่งแห้ง ซึ่งการแพร่ระบาดของเชื้อราสามารถแพร่ระบาดได้ทั้งในดิน ทางอากาศ และทางน้ำ สามารถแพร่กระจายจากต้นสู่ต้นได้ดังนั้นการหมั่นสำรวจแปลงปลูกจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราซ้ำ ๆ ในการแพร่ระบาดของเชื้อราฟิวซาเรียมแตกต่างกับเชื้อราไฟทอปธอร่าอยู่ที่ เชื้อราไฟทอปธอสามารถแพร่กระจายและเพาะเชื้ออยู่ในแหล่งน้ำและกระจายตัวออกไปได้ แต่เชื้อราฟิวซาเรียมไม่สามารถเพาะเชื้อในแหล่งน้ำและกระจายตัวเองได้ ระดับความรุนแรงของเชื้อราทั้ง 2 ชนิดถือว่ามีความรุนแรงที่ใกล้เคียงกันสามารถสร้างความเสียหายให้กับแปลงปลูกได้จำนวนมาก

แนวทางแก้ไขป้องกันกำจัด

1. ควรทำการตัดแต่งกิ่งต้นทุเรียนให้มีทรงพุ่มโปร่งพอสมควร เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้
2. เก็บและรวบรวมเศษใบเป็นโรคที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้น แล้วนำไปเผาทำลายเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคในแปลงปลูกให้น้อยลง
3. ในแหล่งปลูกที่สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรค เกษตรกรควรตรวจตราผลทุเรียนในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

@turianyim

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

ติดตาม ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

จำนวนคนดู: 319