ความสำคัญของ แมลงช้างปีกใส Plesiochrysa ramburi (Schneider) เป็นแมลงที่มีประโยชน์ ช่วยกำจัดศัตรูพืชที่มีขนาดเล็ก เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว และไรแดง นอกจากนี้ตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใสยังสามารถกินไข่ของผีเสื้อและด้วงปีกแข็งเป็นอาหารได้อีกด้วย ตัวอ่อน ของแมลงช้างปีกใสจะเข้าทำลายเหยื่อโดยใช้ปากที่มีเขี้ยวยาวกัดกินแมลงศัตรูพืชที่มีขนาดเล็ก และผนังลำตัวที่อ่อนนุ่ม ตัวเต็มวัยกินน้ำหวานและน้ำเป็นอาหาร
ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใสเป็นตัวห้ำที่ค่อนข้างดุร้าย โดยบริเวณส่วนหัวมีเขี้ยว ยื่นยาวไปข้างหน้า และ งุ้มเข้าหากันคล้ายเคียว เพื่อใช้จับศัตรูพืช และดูดกินของเหลวจากแมลงศัตรูพืช จนแห้ง โดยตัวอ่อนแมลง ช้างปีกใส Mallada basalis อำพรางตัว โดยการนำเอาซากแมลง ขึ้นไปเก็บบนหลังของมัน จนมองไม่เห็น ลำตัว เวลาเดินมองคล้ายขยะเคลื่อนที่
ไข่ จะวางไข่เป็นกลุ่มหรือฟองเดี่ยว มีก้านชูสีขาวใสคล้ายเส้นด้าย ลักษณะไข่รูปร่างยาวรี สีเขียวอ่อนเมื่อวางใหม่ๆ เมื่อใกล้ฟักจะกลายเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และจะเปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อฟักแล้ว ไข่มีขนาดความกว้าง ประมาณ 0.4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.7 มิลลิเมตร ระยะการฝักตัวออกจากไข่ประมาณ 3-4 วัน
ตัวอ่อน ระยะตัวอ่อนจะมีสีน้ำตาลอ่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่ออายุมากขึ้น บริเวณด้านบนและด้านข้างของลำตัวจะมีเส้นขนจำนวนมากจะเป็นที่ยึดเกาะของเศษอาหารและขยะ ตัวอ่อนที่ออกมาจากไข่จะมีพฤติกรรมเป็นตัวห้ำทันที ระยะตับอ่อนมี 3 วัย ใช้เวลาประมาณ 10-13 วัน ( ตัวห้ำ หมายถึง แมลงที่กินแมลงเป็นอาหาร )
ดักแด้ – ตัวอ่อนวัยสุดท้ายจะสร้างเส้นใยสีขาวปกคลุมลำตัว และเข้าดักแด้อยู่ภายใน มักเข้าดักแด้ติดกับใบและกิ่งของพืช หรือภาชนะที่ใช้เลี้ยง มีขนาดประมาณ 5 มม. ดักแด้มีอายุ 10-11 วัน
ตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีเขียวอ่อน ตาสีทองอมแดง หนวดยาวเรียว ปีกสีเขียวอ่อนใส เห็นเส้นปีกชัดเจน ขนาดเกือบเท่ากันทั้ง 4 ปีก เมื่อเกาะนิ่งปีกจะแอบลำตัวคล้ายรูปหลังคา ตัวเมียมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าตัวผู้หลังจากจับคู่ผสมพันธุ์แล้วในระยะ 2-3 วัน ตัวเมียจะเริ่มวางไข่และตัวเมียสามารถวางไข่ได้ถึง 300-400 ฟอง ตัวผู้เต็มวัยมีอายุประมาณ 15-25 วัน ตัวเมียมีอายุ 20-30 วัน
ความสำคัญของ แมลงช้างปีกใส Plesiochrysa ramburi (Schneider) เป็นแมลงที่มีประโยชน์ ช่วยกำจัดศัตรูพืชที่มีขนาดเล็ก เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว และไรแดง นอกจากนี้ตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใสยังสามารถกินไข่ของผีเสื้อและด้วงปีกแข็งเป็นอาหารได้อีกด้วย ตัวอ่อน ของแมลงช้างปีกใสจะเข้าทำลายเหยื่อโดยใช้ปากที่มีเขี้ยวยาวกัดกินแมลงศัตรูพืชที่มีขนาดเล็ก และผนังลำตัวที่อ่อนนุ่ม ตัวเต็มวัยกินน้ำหวานและน้ำเป็นอาหาร
ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใสเป็นตัวห้ำที่ค่อนข้างดุร้าย โดยบริเวณส่วนหัวมีเขี้ยว ยื่นยาวไปข้างหน้า และ งุ้มเข้าหากันคล้ายเคียว เพื่อใช้จับศัตรูพืช และดูดกินของเหลวจากแมลงศัตรูพืช จนแห้ง โดยตัวอ่อนแมลง ช้างปีกใส Mallada basalis อำพรางตัว โดยการนำเอาซากแมลง ขึ้นไปเก็บบนหลังของมัน จนมองไม่เห็น ลำตัว เวลาเดินมองคล้ายขยะเคลื่อนที่
ไข่ จะวางไข่เป็นกลุ่มหรือฟองเดี่ยว มีก้านชูสีขาวใสคล้ายเส้นด้าย ลักษณะไข่รูปร่างยาวรี สีเขียวอ่อนเมื่อวางใหม่ๆ เมื่อใกล้ฟักจะกลายเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และจะเปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อฟักแล้ว ไข่มีขนาดความกว้าง ประมาณ 0.4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.7 มิลลิเมตร ระยะการฝักตัวออกจากไข่ประมาณ 3-4 วัน
ตัวอ่อน ระยะตัวอ่อนจะมีสีน้ำตาลอ่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่ออายุมากขึ้น บริเวณด้านบนและด้านข้างของลำตัวจะมีเส้นขนจำนวนมากจะเป็นที่ยึดเกาะของเศษอาหารและขยะ ตัวอ่อนที่ออกมาจากไข่จะมีพฤติกรรมเป็นตัวห้ำทันที ระยะตับอ่อนมี 3 วัย ใช้เวลาประมาณ 10-13 วัน ( ตัวห้ำ หมายถึง แมลงที่กินแมลงเป็นอาหาร )
ดักแด้ – ตัวอ่อนวัยสุดท้ายจะสร้างเส้นใยสีขาวปกคลุมลำตัว และเข้าดักแด้อยู่ภายใน มักเข้าดักแด้ติดกับใบและกิ่งของพืช หรือภาชนะที่ใช้เลี้ยง มีขนาดประมาณ 5 มม. ดักแด้มีอายุ 10-11 วัน
ตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีเขียวอ่อน ตาสีทองอมแดง หนวดยาวเรียว ปีกสีเขียวอ่อนใส เห็นเส้นปีกชัดเจน ขนาดเกือบเท่ากันทั้ง 4 ปีก เมื่อเกาะนิ่งปีกจะแอบลำตัวคล้ายรูปหลังคา ตัวเมียมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าตัวผู้หลังจากจับคู่ผสมพันธุ์แล้วในระยะ 2-3 วัน ตัวเมียจะเริ่มวางไข่และตัวเมียสามารถวางไข่ได้ถึง 300-400 ฟอง ตัวผู้เต็มวัยมีอายุประมาณ 15-25 วัน ตัวเมียมีอายุ 20-30 วัน