เศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” คือหนึ่งแนวทางในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระประสงค์อยากให้ความเป็นอยู่ของชาวไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

โดยเศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาที่แนะนำแนวทางในการดำรงชีวิต สามารถปรับใช้กับคนในสังคมประเทศไทยได้ทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นระดับครอบครัว ชุมชน หรือรวมไปถึงระดับรัฐบาลที่ดูแลพัฒนาบริหารประเทศเช่นเดียวเหมือนกันหมด โดยจะชี้นำแนวทางในการดำรงชีวิตบนทางสายกลาง แนวทางสายกลางของในหลวงรัชกาลที่ 9 สอนให้รู้จักความพอประมาณ ความมีเหตุผล และรวมไปถึงมีภูมิคุ้มกันในตัวเองซึ่ง3ประการที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ตรัสมาถือว่าเป็นหลักแนวทางในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก

ซึ่งแนวทางในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้นั้นไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่ยาก แต่ต้องลงมือทำให้เห็นผลด้วยตัวเองเสียก่อน ในการนำมาปรับใช้กับการทำสวนคือ การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ หรือที่เรียกว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่” ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ พระราชทานแนวทางนี้ไว้และทรงตรัสไว้ว่า “เกษตรกรต้องอยู่พึ่งพาตนเองได้ในทุกสถานการณ์ ด้วยวิธีการจัดการทรัพยากรให้คุ้มค่าอย่างยั่งยืน”

การแบ่งพื้นที่ในสวนให้เหมาะสมและคุ้มค่า เพื่ออะไร ?

ในการตรวจสอบพื้นที่สวนของชาวเกษตรกรจะต้องสำรวจพื้นที่ในสวน เช่น การตรวจสภาพดิน ทิศของแสงแดด และช่องทางลมธรรมชาติ เมื่อตรวจสอบความพร้อมของสวนโดยรวมแล้ว ก็มาเริ่มการแบ่งพื้นที่ในการทำสวนแบบเกสรทฤษฎีใหม่ โดยมีหลักการแบ่งคือ 30:30:30:10 ในการจัดสรรพื้นที่ก็ใช้แนวทางการทำการเกษตรแบบผสมผสานมาปรับใช้ร่วมด้วยก็ได้

ข้อดีของการทำการเกษตรผสมผสาน

ช่วยลดรายจ่ายภายในครัวเรือน
ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายภายในสวน
ลดการระบาดของโรคพืชและศัตรูพืช
ลดความเสี่ยงจากความผันแปรของราคาผลผลิต
ลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพลม ฟ้า อากาศ
ช่วยบริหารจัดการพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนและมีการหมุนเวียนและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

หลักการในการแบ่งสัดส่วนเกษตรเกษตรผสมผสาน

เกษตรผสมผสานถือว่าเป็นแนวทางหลักสำคัญในการจัดการบริหารพื้นที่ปลูก โดยคำนึงถึง ดินและน้ำในพื้นที่ปลูกให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดด้วยหลักของเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไทย ซึ่งการแบ่งพื้นที่ได้แบ่งเป็น 4 ส่วนคือ 30:30:30:10 ดังนี้

ขุดสระเก็บกักน้ำ

พื้นที่ประมาณ 30% ให้ทำการขุดสระกักเก็บน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดปี และทำให้มีที่กักเก็บน้ำฝนไว้ใช้เมื่อถึงฤดูแล้ง เพราะในแต่ละช่วงปีเราไม่สามารถรู้ว่าจะเกิดภัยแล้งหรือฝนจะทิ้งช่วงยาวนานขนาดไหนการแบ่งพื้นที่กักเก็บน้ำไว้จึงถือว่าเป็นเหตุผลสำคัญ พืชที่แนะนำในการปลูกสามารถ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด ฯลฯ

ปลูกข้าว

พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ทำการปลูกข้าว เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้มีเพียงพอตลอดปีโดยไม่ต้องไปเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เป็นการลดค่าใช้จ่าย และสามารถพึ่งพาตนเองได้

ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก

พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ ในพื้นที่นี้สามารถปลูกผสมผสานกันได้เพราะจะสามารถใช้เป็นอาหารในชีวิตประจำวันได้ หรือสามารถหารายได้จากการขายพืชผักที่เราปลูกก็ได้

เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆ

พื้นที่ประมาณ 10 % ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสั ต ว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือน และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งค อ กเลี้ยงสั ต ว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ

ประโยชน์ของ “ทฤษฎีใหม่” สรุปได้ดังนี้

จากพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานในโอกาสต่าง ๆ นั้น พอจะสรุปถึงประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ได้ ดังนี้

1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้
2. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อยก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระ มาปลูกพืชผักต่าง ๆ ได้ แม้แต่ข้าวก็ยังปลูกได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้
4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วยช่วยเหลือมากนัก

อ้างอิง

https://www.opsmoac.go.th/

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม-รวมส่งฟรี

เศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” คือหนึ่งแนวทางในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระประสงค์อยากให้ความเป็นอยู่ของชาวไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

โดยเศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาที่แนะนำแนวทางในการดำรงชีวิต สามารถปรับใช้กับคนในสังคมประเทศไทยได้ทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นระดับครอบครัว ชุมชน หรือรวมไปถึงระดับรัฐบาลที่ดูแลพัฒนาบริหารประเทศเช่นเดียวเหมือนกันหมด โดยจะชี้นำแนวทางในการดำรงชีวิตบนทางสายกลาง แนวทางสายกลางของในหลวงรัชกาลที่ 9 สอนให้รู้จักความพอประมาณ ความมีเหตุผล และรวมไปถึงมีภูมิคุ้มกันในตัวเองซึ่ง3ประการที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ตรัสมาถือว่าเป็นหลักแนวทางในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก

ซึ่งแนวทางในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้นั้นไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่ยาก แต่ต้องลงมือทำให้เห็นผลด้วยตัวเองเสียก่อน ในการนำมาปรับใช้กับการทำสวนคือ การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ หรือที่เรียกว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่” ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ พระราชทานแนวทางนี้ไว้และทรงตรัสไว้ว่า “เกษตรกรต้องอยู่พึ่งพาตนเองได้ในทุกสถานการณ์ ด้วยวิธีการจัดการทรัพยากรให้คุ้มค่าอย่างยั่งยืน”

การแบ่งพื้นที่ในสวนให้เหมาะสมและคุ้มค่า เพื่ออะไร ?

ในการตรวจสอบพื้นที่สวนของชาวเกษตรกรจะต้องสำรวจพื้นที่ในสวน เช่น การตรวจสภาพดิน ทิศของแสงแดด และช่องทางลมธรรมชาติ เมื่อตรวจสอบความพร้อมของสวนโดยรวมแล้ว ก็มาเริ่มการแบ่งพื้นที่ในการทำสวนแบบเกสรทฤษฎีใหม่ โดยมีหลักการแบ่งคือ 30:30:30:10 ในการจัดสรรพื้นที่ก็ใช้แนวทางการทำการเกษตรแบบผสมผสานมาปรับใช้ร่วมด้วยก็ได้

ข้อดีของการทำการเกษตรผสมผสาน

ช่วยลดรายจ่ายภายในครัวเรือน
ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายภายในสวน
ลดการระบาดของโรคพืชและศัตรูพืช
ลดความเสี่ยงจากความผันแปรของราคาผลผลิต
ลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพลม ฟ้า อากาศ
ช่วยบริหารจัดการพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนและมีการหมุนเวียนและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

หลักการในการแบ่งสัดส่วนเกษตรเกษตรผสมผสาน

เกษตรผสมผสานถือว่าเป็นแนวทางหลักสำคัญในการจัดการบริหารพื้นที่ปลูก โดยคำนึงถึง ดินและน้ำในพื้นที่ปลูกให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดด้วยหลักของเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไทย ซึ่งการแบ่งพื้นที่ได้แบ่งเป็น 4 ส่วนคือ 30:30:30:10 ดังนี้

ขุดสระเก็บกักน้ำ

พื้นที่ประมาณ 30% ให้ทำการขุดสระกักเก็บน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดปี และทำให้มีที่กักเก็บน้ำฝนไว้ใช้เมื่อถึงฤดูแล้ง เพราะในแต่ละช่วงปีเราไม่สามารถรู้ว่าจะเกิดภัยแล้งหรือฝนจะทิ้งช่วงยาวนานขนาดไหนการแบ่งพื้นที่กักเก็บน้ำไว้จึงถือว่าเป็นเหตุผลสำคัญ พืชที่แนะนำในการปลูกสามารถ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด ฯลฯ

ปลูกข้าว

พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ทำการปลูกข้าว เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้มีเพียงพอตลอดปีโดยไม่ต้องไปเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เป็นการลดค่าใช้จ่าย และสามารถพึ่งพาตนเองได้

ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก

พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ ในพื้นที่นี้สามารถปลูกผสมผสานกันได้เพราะจะสามารถใช้เป็นอาหารในชีวิตประจำวันได้ หรือสามารถหารายได้จากการขายพืชผักที่เราปลูกก็ได้

เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆ

พื้นที่ประมาณ 10 % ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือน และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ

ประโยชน์ของ “ทฤษฎีใหม่” สรุปได้ดังนี้

จากพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานในโอกาสต่าง ๆ นั้น พอจะสรุปถึงประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ได้ ดังนี้

1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้
2. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อยก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระ มาปลูกพืชผักต่าง ๆ ได้ แม้แต่ข้าวก็ยังปลูกได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้
4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วยช่วยเหลือมากนัก

อ้างอิง

https://www.opsmoac.go.th/

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

@turianyim

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

ติดตาม ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

จำนวนคนดู: 431