Skip to content
Search for:
หน้าแรก
เกี่่ยวกับเรา
ผลิตภัณฑ์
เทคนิคเพิ่มผลผลิต
ฟื้นฟูต้น บำรุงดินและราก
ระยะแตกใบอ่อน
ใบเพสลาด
สะสมอาหารก่อนออกดอก
เปิดตาดอก
บำรุงดอก
ช่วยผสมเกสร
ใบอ่อนแตก ระยะดอกและผลอ่อน
ติดผลเล็ก
เร่งผล / บำรุงผล
ขยายผล / สร้างพู / เพิ่มน้ำหนัก
ปรับปรุงคุณภาพ / เร่งการเข้าสี
ข่าวสารและสาระความรู้
ติดต่อเรา
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
บริษัท นครจันทร์ ราชาทุเรียน จำกัด
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
บริษัท นครจันทร์ ราชาทุเรียน จำกัด
หน้าแรก
เกี่่ยวกับเรา
ผลิตภัณฑ์
เทคนิคเพิ่มผลผลิต
ฟื้นฟูต้น บำรุงดินและราก
ระยะแตกใบอ่อน
ใบเพสลาด
สะสมอาหารก่อนออกดอก
เปิดตาดอก
บำรุงดอก
ช่วยผสมเกสร
ใบอ่อนแตก ระยะดอกและผลอ่อน
ติดผลเล็ก
เร่งผล / บำรุงผล
ขยายผล / สร้างพู / เพิ่มน้ำหนัก
ปรับปรุงคุณภาพ / เร่งการเข้าสี
ข่าวสารและสาระความรู้
ติดต่อเรา
เพลี้ยไฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scirtothrips spp.
เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวอ่อนสีเหลือง ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง เคลื่อนไหวรวดเร็ว เพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ บริเวณใบอ่อน ดอก ก้านช่อดอกและผลอ่อน ระยะไข่ 4-7 วัน ตัวอ่อนวัยที่หนึ่งมีสีขาวใส ตารวมสีแดง ส่วนตัวอ่อนระยะที่สองสีเหลืองเข้ม เพลี้ยไฟจะระบาดทำลายรุนแรงในช่วงฤดูร้อนหรือสภาพอากาศร้อนแห้งแล้ง การขยายพันธุ์หรือการระบาดของเพลี้ยไฟมีได้ตลอดปี แต่อาจจะรุนแรงเป็นระยะ ๆ
ลักษณะการเข้าทำลาย
ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนที่เพิ่งเริ่มคลี่ ทำให้ใบเป็นรอยด่างดำใบหงิกงอเสียรูปทรง เส้นกลางใบที่ด้านบนของใบอาจจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ใบร่วงได้ในระยะช่อดอกกำลังบาน เพลี้ยไฟเช้าทำลายดอกและผลอ่อน ทำให้ผลอ่อนมีปลายหนามแห้ง หากเป็นมาก ๆ ทุเรียนมีหนามติด ผิวไม่สวย
เนื้อหาจากศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร ลักษณะการทำลาย สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน เตือนผู้ปลูกทุเรียนในระยะติดผล ระยะปิ่น หรือระยะหางแย้ รับมือเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีผลทำให้ใบอ่อนหรือยอดอ่อนชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น ใบโค้ง แห้งหงิกงอและไหม้ การทำลายในช่วงดอก ทำให้ดอกแห้ง ดอกและก้านดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแคระแกร็น และร่วงได้ และในช่วงผลอ่อน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต หนามเป็นแผลและเกิดอาการปลายหนามแห้งผลไม่สมบูรณ์และแคระแกร็น เพลี้ยไฟจะระบาดรุนแรงในช่วงแล้งระยะหว่างเดือนธันวาคน-พฤษภาคม ซึ่งตรงกับระยะที่ต้นทุเรียนออกดอกติดผล เพลี้ยไฟมีอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถเพิ่มปริมาณได้มาก
การป้องกันกำจัด
1. ตัดแต่งช่อดอกให้มีจำนวนดอกที่เหมาะสม เพื่อลดพื้นที่การหลบซ่อน
2. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอทุก 2-3 วัน ในระยะแตกใบอ่อนจนถึงใบเพสลาด และระยะดอกบานจนถึงระยะผลเล็ก
3. หากพบเพลี้ยไฟระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้ง พ่นด้วยเชื้อราบิวเวอเรียกรือเชื้อราราเมตาไรเซียม ในระยะแตกใบอ่อนจนถึงใบเพสลาด
และระยะดอกบานจนถึงระยะผลเล็ก
4. ถ้ามีการบาดทำลายมาก ใช้สารเคมี พ่นช่วงเป็นหางแย้ ไปจนกว่าลูกจะอยู่ในระยะกระป๋องนม
กลุ่ม 1A สารกลุ่มคาร์บาร์เมท เช่น คาร์โบซัลแฟน เบนฟูราคาร์บ
กลุ่ม 1B สารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส เช่น โพรไทโอฟอส
กลุ่ม 2B พิโพรนิล
กลุ่ม 4A สารกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ เช่น ไทอะมีโทแชม, อิมิดาโคลพริด, อะเซทามิพริด
กลุ่ม 5 สปีนโนแซด สไปนิโทแรม
กลุ่ม 6 อะบาเม็กติน อีมาเม็กติน เบนโซเอท
เพลี้ยไฟมีวงจรชีวิตสั้นมาก ในระยะที่มีการระบาดค่อนข้างสูง จึงควรพ่นสารเคมีค่อนข้างถี่ คือประมาณ 4-5 วัน ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง ควรสลับกลุ่มกันใช้
อ้างอิง กรมวิชาการเกษตร (นายพิสุทธิ์ เอกอำนวย)
ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210
ติดตามเรา
บทความที่น่าสนใจ
• คำแนะนำในการปลูกทุเรียน
• ธาตุอาหารหลักในทุเรียน
• ดินที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียน
• สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนไม่ติดดอก
• พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย
ติดต่อเรา
095 198 9459
turianyimm@gmail.com
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม By ทุเรียนยิ้ม
@turianyim
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
29/27 ตำบลชากไทย
อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210
ติดตามเรา
บทความที่น่าสนใจ
• คำแนะนำในการปลูกทุเรียน
• ธาตุอาหารหลักในทุเรียน
• ดินที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียน
• สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนไม่ติดดอก
• พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย
ติดต่อเรา
095 198 9459
turianyimm@gmail.com
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม By ทุเรียนยิ้ม
@turianyim
ติดตาม ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
จำนวนคนดู:
253