Skip to content
Search for:
หน้าแรก
เกี่่ยวกับเรา
ผลิตภัณฑ์
เทคนิคเพิ่มผลผลิต
ฟื้นฟูต้น บำรุงดินและราก
ระยะแตกใบอ่อน
ใบเพสลาด
สะสมอาหารก่อนออกดอก
เปิดตาดอก
บำรุงดอก
ช่วยผสมเกสร
ใบอ่อนแตก ระยะดอกและผลอ่อน
ติดผลเล็ก
เร่งผล / บำรุงผล
ขยายผล / สร้างพู / เพิ่มน้ำหนัก
ปรับปรุงคุณภาพ / เร่งการเข้าสี
ข่าวสารและสาระความรู้
ติดต่อเรา
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
บริษัท นครจันทร์ ราชาทุเรียน จำกัด
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
บริษัท นครจันทร์ ราชาทุเรียน จำกัด
หน้าแรก
เกี่่ยวกับเรา
ผลิตภัณฑ์
เทคนิคเพิ่มผลผลิต
ฟื้นฟูต้น บำรุงดินและราก
ระยะแตกใบอ่อน
ใบเพสลาด
สะสมอาหารก่อนออกดอก
เปิดตาดอก
บำรุงดอก
ช่วยผสมเกสร
ใบอ่อนแตก ระยะดอกและผลอ่อน
ติดผลเล็ก
เร่งผล / บำรุงผล
ขยายผล / สร้างพู / เพิ่มน้ำหนัก
ปรับปรุงคุณภาพ / เร่งการเข้าสี
ข่าวสารและสาระความรู้
ติดต่อเรา
เพลี้ยแป้ง (mealybugs)
เพลี้ยแป้งเป็นแมลงที่อยู่ในตระกูลเดียวกับเพลี้ยหอย (Coccidae) เพลี้ยแป้งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เพลี้ยแป้งหางสั้น และเพลี้ยงแป้งหางยาว ลักษณะของตัวเพลี้ยจะมีขนาดเล็ก มีสีขาว มีขาอ่อนเจริญออกมารอบลำตัว เพลี้ยแป้งที่พบระบาดมีรายงาน 3 ชนิด
1. Pseudococus saccharaicola Takahashi 2. Trionymus sp. 3. Paraccus sp.
ลักษณะของเพลี้ยแป้ง
- ลักษณะลำตัวเป็นข้อ ปล้อง รูปร่างกลมยาวหรือยาวรี ส่วนหัวและขาอยู่ใต้ลำตัว มี 6 ขา ไม่มีปีก มีผงแป้งปกคลุมลำตัว ปากแบบกัดดูด ขยายพันธุ์ได้โดยใช้เพศและไม่ใช้เพศ (Thelytokous parthenogenesis) เพศเมียไม่จำเป็นต้องได้รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้ ออกลูกเป็นไข่หรือออกเป็นตัวได้
- ลักษณะของไข่เพลี้ยแป้งมีลักษณะเป็นฟองเดี่ยว สีเหลืองอ่อน ยาวรี อยู่ในถุงไข่มีเส้นใยคล้ายสำลีหุ้มไว้ มีการลอกคราบ 3-4 ครั้ง
- ตัวเต็มวัย เพศเมีย มีลักษณะลำตัวแบน บนหลังและด้านข้างมีขนปกคลุมมาก มีถุงไข่อยุ่ใต้ท้องมีลักษณะเป็นเส้นใยคล้ายสำลีหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่ง ลูกที่ออกมาจะลำตัวป้อม กลมรี ส่วนหลังและด้านข้างมีคราแป้งเกาะ
- ลักษณะเพศผู้มีปีก 1 คู่ ลักษระคล้ายแตนหรือแมลงหวี่ ขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ดำรงชีวิตโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช เพลี้ยแป้งมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยปกติแล้วตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัย สามารถเคลือนไหวได้บ้าง แต่จากลักษณะการกินและการเข้าทำลายพืชจะอยู่นิ่งไม่เคลื่อนที่
ความสำคัญและลักษณะการทำลาย
เพลี้ยแป้งเข้าทำลายพืชโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ใช้ส่วนของปากดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนยอด ใบ ตาดอก และลำต้น บางครั้งอาจพบการดูดกินจากรากของพืช เช่น รากของมันสำปะหลัง และจะขับถ่ายมูลที่มีลักษณะของเหลวข้นเหนียวมีรสหวาน ส่งผลทำให้เกิดราดำปกคลุมปิดปังในส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ถูกเข้าทำลาย ทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชลดลง ส่วนในปากที่เป็นท่อยาวของเพลี้ยแป้งที่กำลังดูดน้ำเลี้ยง อาจมีฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตถูกขับออกมาด้วย ทำให้ส่วนลำต้นที่ถูกทำลายด้วยเพลี้ยแป้ง มีข้อถี่มาก มีการแตกใบเป็นพุ่มหนาเป็นกระจุก โดยส่วนของยอด ใบ และลำต้นอาจแห้งตายไปในที่สุดหลังจากถูกเพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยง ส่วนของลำต้นที่ถูกเพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยง มีผลทำให้ท่อนพันธุ์แห้งเร็ว อายุการเก็บรักษาสั้น โดย ให้ความงอกต่ำและงอกช้ากว่าปกติมาก เพลี้ยแป้งบางชนิดอาจเป็นพาหนะของเชื้อไวรัสเข้าสู่พืชก็ได้
พืชอาหาร
ทุเรียน มังคุด เงาะ และ สับปะรด เป็นต้น
เพลี้ยแป้ง (mealybugs)
เพลี้ยแป้งเป็นแมลงที่อยู่ในตระกูลเดียวกับเพลี้ยหอย (Coccidae) เพลี้ยแป้งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เพลี้ยแป้งหางสั้น และเพลี้ยงแป้งหางยาว ลักษณะของตัวเพลี้ยจะมีขนาดเล็ก มีสีขาว มีขาอ่อนเจริญออกมารอบลำตัว เพลี้ยแป้งที่พบระบาดมีรายงาน 3 ชนิด
1. Pseudococus saccharaicola Takahashi 2. Trionymus sp. 3. Paraccus sp.
ลักษณะของเพลี้ยแป้ง
- ลักษณะลำตัวเป็นข้อ ปล้อง รูปร่างกลมยาวหรือยาวรี ส่วนหัวและขาอยู่ใต้ลำตัว มี 6 ขา ไม่มีปีก มีผงแป้งปกคลุมลำตัว ปากแบบกัดดูด ขยายพันธุ์ได้โดยใช้เพศและไม่ใช้เพศ (Thelytokous parthenogenesis) เพศเมียไม่จำเป็นต้องได้รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้ ออกลูกเป็นไข่หรือออกเป็นตัวได้
- ลักษณะของไข่เพลี้ยแป้งมีลักษณะเป็นฟองเดี่ยว สีเหลืองอ่อน ยาวรี อยู่ในถุงไข่มีเส้นใยคล้ายสำลีหุ้มไว้ มีการลอกคราบ 3-4 ครั้ง
- ตัวเต็มวัย เพศเมีย มีลักษณะลำตัวแบน บนหลังและด้านข้างมีขนปกคลุมมาก มีถุงไข่อยุ่ใต้ท้องมีลักษณะเป็นเส้นใยคล้ายสำลีหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่ง ลูกที่ออกมาจะลำตัวป้อม กลมรี ส่วนหลังและด้านข้างมีคราแป้งเกาะ
- ลักษณะเพศผู้มีปีก 1 คู่ ลักษระคล้ายแตนหรือแมลงหวี่ ขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ดำรงชีวิตโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช เพลี้ยแป้งมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยปกติแล้วตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัย สามารถเคลือนไหวได้บ้าง แต่จากลักษณะการกินและการเข้าทำลายพืชจะอยู่นิ่งไม่เคลื่อนที่
ความสำคัญและลักษณะการทำลาย
เพลี้ยแป้งเข้าทำลายพืชโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ใช้ส่วนของปากดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนยอด ใบ ตาดอก และลำต้น บางครั้งอาจพบการดูดกินจากรากของพืช เช่น รากของมันสำปะหลัง และจะขับถ่ายมูลที่มีลักษณะของเหลวข้นเหนียวมีรสหวาน ส่งผลทำให้เกิดราดำปกคลุมปิดปังในส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ถูกเข้าทำลาย ทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชลดลง ส่วนในปากที่เป็นท่อยาวของเพลี้ยแป้งที่กำลังดูดน้ำเลี้ยง อาจมีฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตถูกขับออกมาด้วย ทำให้ส่วนลำต้นที่ถูกทำลายด้วยเพลี้ยแป้ง มีข้อถี่มาก มีการแตกใบเป็นพุ่มหนาเป็นกระจุก โดยส่วนของยอด ใบ และลำต้นอาจแห้งตายไปในที่สุดหลังจากถูกเพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยง ส่วนของลำต้นที่ถูกเพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยง มีผลทำให้ท่อนพันธุ์แห้งเร็ว อายุการเก็บรักษาสั้น โดย ให้ความงอกต่ำและงอกช้ากว่าปกติมาก เพลี้ยแป้งบางชนิดอาจเป็นพาหนะของเชื้อไวรัสเข้าสู่พืชก็ได้
พืชอาหาร
ทุเรียน มังคุด เงาะ และ สับปะรด เป็นต้น
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210
ติดตามเรา
บทความที่น่าสนใจ
• คำแนะนำในการปลูกทุเรียน
• ธาตุอาหารหลักในทุเรียน
• ดินที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียน
• สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนไม่ติดดอก
• พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย
ติดต่อเรา
095 198 9459
turianyimm@gmail.com
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม By ทุเรียนยิ้ม
@turianyim
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
29/27 ตำบลชากไทย
อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210
ติดตามเรา
บทความที่น่าสนใจ
• คำแนะนำในการปลูกทุเรียน
• ธาตุอาหารหลักในทุเรียน
• ดินที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียน
• สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนไม่ติดดอก
• พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย
ติดต่อเรา
095 198 9459
turianyimm@gmail.com
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม By ทุเรียนยิ้ม
@turianyim
ติดตาม ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
จำนวนคนดู:
349