Skip to content
Search for:
หน้าแรก
เกี่่ยวกับเรา
ผลิตภัณฑ์
เทคนิคเพิ่มผลผลิต
ฟื้นฟูต้น บำรุงดินและราก
ระยะแตกใบอ่อน
ใบเพสลาด
สะสมอาหารก่อนออกดอก
เปิดตาดอก
บำรุงดอก
ช่วยผสมเกสร
ใบอ่อนแตก ระยะดอกและผลอ่อน
ติดผลเล็ก
เร่งผล / บำรุงผล
ขยายผล / สร้างพู / เพิ่มน้ำหนัก
ปรับปรุงคุณภาพ / เร่งการเข้าสี
ข่าวสารและสาระความรู้
ติดต่อเรา
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
บริษัท นครจันทร์ ราชาทุเรียน จำกัด
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
บริษัท นครจันทร์ ราชาทุเรียน จำกัด
หน้าแรก
เกี่่ยวกับเรา
ผลิตภัณฑ์
เทคนิคเพิ่มผลผลิต
ฟื้นฟูต้น บำรุงดินและราก
ระยะแตกใบอ่อน
ใบเพสลาด
สะสมอาหารก่อนออกดอก
เปิดตาดอก
บำรุงดอก
ช่วยผสมเกสร
ใบอ่อนแตก ระยะดอกและผลอ่อน
ติดผลเล็ก
เร่งผล / บำรุงผล
ขยายผล / สร้างพู / เพิ่มน้ำหนัก
ปรับปรุงคุณภาพ / เร่งการเข้าสี
ข่าวสารและสาระความรู้
ติดต่อเรา
ปัจจัยก่อโรคราดำในทุเรียน
โรคราดำในทุเรียน ( Sooty mold ) โรคราดำในทุเรียน สาเหตุเกิดมาได้จากเชื้อราหลายชนิด เช่น Cladosporium, Aureobasidium, Antennariella, Limacinula, Scorias, Capnodium, Tripospermum sp. และ Polychaeton sp. เป็นต้น แต่เชื้อราหลักที่เป็นเชื้อราก่อโรคของทุเรียนคือ Tripospermum sp. และ Polychaeton sp.ในเอกสารวิชาการองค์ความรู้เรื่องโรคทุเรียน ของกรมวิชาการเกษตร ระบุไว้ว่าเป็นสาเหตุหลักของเชื้อราก่อโรคราดำในทุเรียน
ความสำคัญ
โรคราดำในทุเรียนเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในสวนทุเรียนของชาวเกษตรกร โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนช่วงที่ฝนตกมีความชื้นทำให้ต้นทุเรียนที่มีไม่มีการตัดแต่งทรงพุ่มที่หนาทึบ เกิดความชื้นขึ้นในพุ่มทุเรียนและมีการระบาดของเชื้อราก่อโรคและอาจเกิดเพลี้ยบางชนิด ซึ่งโรคราดำสามารถพบได้ในต้นทุเรียนบริเวณ ลำต้น กิ่ง ก้านใบ ช่อดอก และผล แต่เชื้อราชนิดนี้จะไม่เข้าทำลายก่อความเสียหายแก่ทุเรียนโดยตรง แต่การก่อโรคของเชื้อนี้ชนิดนี้จะสร้างเส้นใยปกคลุมบริเวณส่วนที่เกิดโรคทำให้กระบวนการสร้างอาหารหรือการสังเคราะห์ของทุเรียนลดลง ท่าเชื้อราเข้าทำลายส่วนบริเวณผลจะทำให้ผลสกปรกไม่น่ารับประทานส่งผลทำให้การจำหน่ายหรือราคาในการส่งออกลดลง
ลักษณะอาการ
พบคราบราสีดำติดบริเวณส่วนของใบ กิ่ง และในบางครึ่งเกิดขึ้นที่ผล โดยเชื้อราเจริญบนสารเหนียวที่แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยไก่แจ้ขับถ่ายไว้ ต้นทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้ว และพบการเกิดเชื้อราดำบนใบไม่สงผลให้เสียหายมาก เพียงแต่บังพื้นที่ใบที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง ส่งผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง แต่ในระยะต้นกล้าหรือต้นที่ยังไม่เจริญเติบโตได้เต็มที่ทำให้การเจริญเติบโตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต ส่วนราดำที่เกิดที่ผลจะมีคราบราดำติดทำให้ผิวไม่สวยไม่เป็นที่ต้องการของตราดหรือท่ามีการส่งขายราคาก็จะลดลงอย่างมาก
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคราดำในทุเรียน
สาเหตุการเกิดโรคราดำ ไม่ใช่แต่จะเกิดจากปัญหาเชื้อราที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น แต่ปัญหาที่เกิดราดำยังมีอีกหลายสาเหตุ เช่น
1. ความชื้นภายในทรงพุ่มความหนาแน่นของกิ่งทุเรียนที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่งทำให้เกิดความทึบภายในต้นส่งผลให้เป็นที่อยู่ของเชื้อราก่อโรค
2. อาหารเสริมน้ำตาลทางด่วน ในการพ่นอาหารเสริมน้ำตาลทางด่วนที่เกินความจำเป็น ส่งผลให้เกิดการตกค้างของน้ำตาลทางด่วนในส่วนของบริเวณต่าง ๆ บนต้น ทำให้ตกค้างเป็นแหล่งอาหารสำหรับการเจริญเชื้อราก่อโรค
3. กากน้ำตาลในปริมาณที่มากและบ่อยครั้ง ในการใช้กากน้ำตาลในปริมาณที่มากเพื่อจะใช้เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์เชื้อราดีที่นำมาฉีดพ่นทางใบ เมื่อมีการฉีดพ่นกากน้ำตาลอาจจะยังย่อยสลายไม่หมดเกิดการตกค้างบริเวณใบก็ส่งผลให้เกิดราดำได้ เพราะกากน้ำตาลสามารถเป็นแหล่งพลังงานการสร้างเชื้อราได้
4. เพลี้ยชนิดต่าง ๆ เช่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยจำพวกนี้เมื่อดูดกินน้ำเลี้ยงภายในเนื้อเยื่อพืช และขับถ่ายมูลออกมามูลของเพลี้ยจำพวกนี้มีรสหวาน หอม คล้ายน้ำผึ่ง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของเชื้อราและสามารถพบเชื้อราดำปรากฏร่วมด้วยบ่อยครั้ง
(โดยปัจจัยจากการพ่นน้ำตาลทางด่วนและเพลี้ยก่อให้เกิดโรคราดำบ่อยครั้งมากที่สุด)
การแพร่ระบาดและการก่อโรค
โดยทั่วไปสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรคจะฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ (Air-borne fungi) เมื่อลมพัดพาสปอร์ไปตกบริเวณที่มีอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อราๆ จะสร้างเส้นใยไมซีเลียมและเจริญอยู่บนผิวใบ ลำต้น กิ่ง ช่อดอกหรือบนผลของทุเรียน โดยเส้นใยจะไม่เจาะแทรกเข้าสู่เนื้อเยื่อพืช เส้นใยที่เจริญจะเป็นเส้นใยสีดำแพร่ขยายออกด้านข้างทำให้มีลักษณะเป็นคราบเขม่าหรือผงฝุ่นสีดำขึ้นปกคลุมและมีการสร้างสปอร์สืบพันธุ์จำนวนมาก หากความชื้นสัมพันธ์ในอากาศแห้งคราบราดำนี้ อาจจะแห้งตกสะเก็ดเป็นแผ่นและอาจหลุดออกจากฝนชะล้างในช่วงฤดูฝน แต่เชื้อราดำค่อนข้างยึดเกาะกับผิวพืชแน่นการชะล้างอาจทำให้คราบราดำหลุดออกเพียงบางส่วน การเกิดราดำในระยะก่อนดอกบาน หากระบาดรุนแรงจะทำให้การติดผลลดลง
ปัจจัยก่อโรคราดำในทุเรียน
โรคราดำในทุเรียน ( Sooty mold ) โรคราดำในทุเรียน สาเหตุเกิดมาได้จากเชื้อราหลายชนิด เช่น Cladosporium, Aureobasidium, Antennariella, Limacinula, Scorias, Capnodium, Tripospermum sp. และ Polychaeton sp. เป็นต้น แต่เชื้อราหลักที่เป็นเชื้อราก่อโรคของทุเรียนคือ Tripospermum sp. และ Polychaeton sp.ในเอกสารวิชาการองค์ความรู้เรื่องโรคทุเรียน ของกรมวิชาการเกษตร ระบุไว้ว่าเป็นสาเหตุหลักของเชื้อราก่อโรคราดำในทุเรียน
ความสำคัญ
โรคราดำในทุเรียนเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในสวนทุเรียนของชาวเกษตรกร โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนช่วงที่ฝนตกมีความชื้นทำให้ต้นทุเรียนที่มีไม่มีการตัดแต่งทรงพุ่มที่หนาทึบ เกิดความชื้นขึ้นในพุ่มทุเรียนและมีการระบาดของเชื้อราก่อโรคและอาจเกิดเพลี้ยบางชนิด ซึ่งโรคราดำสามารถพบได้ในต้นทุเรียนบริเวณ ลำต้น กิ่ง ก้านใบ ช่อดอก และผล แต่เชื้อราชนิดนี้จะไม่เข้าทำลายก่อความเสียหายแก่ทุเรียนโดยตรง แต่การก่อโรคของเชื้อนี้ชนิดนี้จะสร้างเส้นใยปกคลุมบริเวณส่วนที่เกิดโรคทำให้กระบวนการสร้างอาหารหรือการสังเคราะห์ของทุเรียนลดลง ท่าเชื้อราเข้าทำลายส่วนบริเวณผลจะทำให้ผลสกปรกไม่น่ารับประทานส่งผลทำให้การจำหน่ายหรือราคาในการส่งออกลดลง
ลักษณะอาการ
พบคราบราสีดำติดบริเวณส่วนของใบ กิ่ง และในบางครึ่งเกิดขึ้นที่ผล โดยเชื้อราเจริญบนสารเหนียวที่แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยไก่แจ้ขับถ่ายไว้ ต้นทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้ว และพบการเกิดเชื้อราดำบนใบไม่สงผลให้เสียหายมาก เพียงแต่บังพื้นที่ใบที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง ส่งผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง แต่ในระยะต้นกล้าหรือต้นที่ยังไม่เจริญเติบโตได้เต็มที่ทำให้การเจริญเติบโตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต ส่วนราดำที่เกิดที่ผลจะมีคราบราดำติดทำให้ผิวไม่สวยไม่เป็นที่ต้องการของตราดหรือท่ามีการส่งขายราคาก็จะลดลงอย่างมาก
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคราดำในทุเรียน
สาเหตุการเกิดโรคราดำ ไม่ใช่แต่จะเกิดจากปัญหาเชื้อราที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น แต่ปัญหาที่เกิดราดำยังมีอีกหลายสาเหตุ เช่น
1. ความชื้นภายในทรงพุ่มความหนาแน่นของกิ่งทุเรียนที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่งทำให้เกิดความทึบภายในต้นส่งผลให้เป็นที่อยู่ของเชื้อราก่อโรค
2. อาหารเสริมน้ำตาลทางด่วน ในการพ่นอาหารเสริมน้ำตาลทางด่วนที่เกินความจำเป็น ส่งผลให้เกิดการตกค้างของน้ำตาลทางด่วนในส่วนของบริเวณต่าง ๆ บนต้น ทำให้ตกค้างเป็นแหล่งอาหารสำหรับการเจริญเชื้อราก่อโรค
3. กากน้ำตาลในปริมาณที่มากและบ่อยครั้ง ในการใช้กากน้ำตาลในปริมาณที่มากเพื่อจะใช้เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์เชื้อราดีที่นำมาฉีดพ่นทางใบ เมื่อมีการฉีดพ่นกากน้ำตาลอาจจะยังย่อยสลายไม่หมดเกิดการตกค้างบริเวณใบก็ส่งผลให้เกิดราดำได้ เพราะกากน้ำตาลสามารถเป็นแหล่งพลังงานการสร้างเชื้อราได้
4. เพลี้ยชนิดต่าง ๆ เช่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยจำพวกนี้เมื่อดูดกินน้ำเลี้ยงภายในเนื้อเยื่อพืช และขับถ่ายมูลออกมามูลของเพลี้ยจำพวกนี้มีรสหวาน หอม คล้ายน้ำผึ่ง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของเชื้อราและสามารถพบเชื้อราดำปรากฏร่วมด้วยบ่อยครั้ง
(โดยปัจจัยจากการพ่นน้ำตาลทางด่วนและเพลี้ยก่อให้เกิดโรคราดำบ่อยครั้งมากที่สุด)
การแพร่ระบาดและการก่อโรค
โดยทั่วไปสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรคจะฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ (Air-borne fungi) เมื่อลมพัดพาสปอร์ไปตกบริเวณที่มีอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อราๆ จะสร้างเส้นใยไมซีเลียมและเจริญอยู่บนผิวใบ ลำต้น กิ่ง ช่อดอกหรือบนผลของทุเรียน โดยเส้นใยจะไม่เจาะแทรกเข้าสู่เนื้อเยื่อพืช เส้นใยที่เจริญจะเป็นเส้นใยสีดำแพร่ขยายออกด้านข้างทำให้มีลักษณะเป็นคราบเขม่าหรือผงฝุ่นสีดำขึ้นปกคลุมและมีการสร้างสปอร์สืบพันธุ์จำนวนมาก หากความชื้นสัมพันธ์ในอากาศแห้งคราบราดำนี้ อาจจะแห้งตกสะเก็ดเป็นแผ่นและอาจหลุดออกจากฝนชะล้างในช่วงฤดูฝน แต่เชื้อราดำค่อนข้างยึดเกาะกับผิวพืชแน่นการชะล้างอาจทำให้คราบราดำหลุดออกเพียงบางส่วน การเกิดราดำในระยะก่อนดอกบาน หากระบาดรุนแรงจะทำให้การติดผลลดลง
ปัจจัยก่อโรคราดำในทุเรียน
โรคราดำในทุเรียน ( Sooty mold ) โรคราดำในทุเรียน สาเหตุเกิดมาได้จากเชื้อราหลายชนิด เช่น Cladosporium, Aureobasidium, Antennariella, Limacinula, Scorias, Capnodium, Tripospermum sp. และ Polychaeton sp. เป็นต้น แต่เชื้อราหลักที่เป็นเชื้อราก่อโรคของทุเรียนคือ Tripospermum sp. และ Polychaeton sp.ในเอกสารวิชาการองค์ความรู้เรื่องโรคทุเรียน ของกรมวิชาการเกษตร ระบุไว้ว่าเป็นสาเหตุหลักของเชื้อราก่อโรคราดำในทุเรียน
ความสำคัญ
โรคราดำในทุเรียนเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในสวนทุเรียนของชาวเกษตรกร โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนช่วงที่ฝนตกมีความชื้นทำให้ต้นทุเรียนที่มีไม่มีการตัดแต่งทรงพุ่มที่หนาทึบ เกิดความชื้นขึ้นในพุ่มทุเรียนและมีการระบาดของเชื้อราก่อโรคและอาจเกิดเพลี้ยบางชนิด ซึ่งโรคราดำสามารถพบได้ในต้นทุเรียนบริเวณ ลำต้น กิ่ง ก้านใบ ช่อดอก และผล แต่เชื้อราชนิดนี้จะไม่เข้าทำลายก่อความเสียหายแก่ทุเรียนโดยตรง แต่การก่อโรคของเชื้อนี้ชนิดนี้จะสร้างเส้นใยปกคลุมบริเวณส่วนที่เกิดโรคทำให้กระบวนการสร้างอาหารหรือการสังเคราะห์ของทุเรียนลดลง ท่าเชื้อราเข้าทำลายส่วนบริเวณผลจะทำให้ผลสกปรกไม่น่ารับประทานส่งผลทำให้การจำหน่ายหรือราคาในการส่งออกลดลง
ลักษณะอาการ
พบคราบราสีดำติดบริเวณส่วนของใบ กิ่ง และในบางครึ่งเกิดขึ้นที่ผล โดยเชื้อราเจริญบนสารเหนียวที่แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยไก่แจ้ขับถ่ายไว้ ต้นทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้ว และพบการเกิดเชื้อราดำบนใบไม่สงผลให้เสียหายมาก เพียงแต่บังพื้นที่ใบที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง ส่งผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง แต่ในระยะต้นกล้าหรือต้นที่ยังไม่เจริญเติบโตได้เต็มที่ทำให้การเจริญเติบโตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต ส่วนราดำที่เกิดที่ผลจะมีคราบราดำติดทำให้ผิวไม่สวยไม่เป็นที่ต้องการของตราดหรือท่ามีการส่งขายราคาก็จะลดลงอย่างมาก
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคราดำในทุเรียน
สาเหตุการเกิดโรคราดำ ไม่ใช่แต่จะเกิดจากปัญหาเชื้อราที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น แต่ปัญหาที่เกิดราดำยังมีอีกหลายสาเหตุ เช่น
1. ความชื้นภายในทรงพุ่มความหนาแน่นของกิ่งทุเรียนที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่งทำให้เกิดความทึบภายในต้นส่งผลให้เป็นที่อยู่ของเชื้อราก่อโรค
2. อาหารเสริมน้ำตาลทางด่วน ในการพ่นอาหารเสริมน้ำตาลทางด่วนที่เกินความจำเป็น ส่งผลให้เกิดการตกค้างของน้ำตาลทางด่วนในส่วนของบริเวณต่าง ๆ บนต้น ทำให้ตกค้างเป็นแหล่งอาหารสำหรับการเจริญเชื้อราก่อโรค
3. กากน้ำตาลในปริมาณที่มากและบ่อยครั้ง ในการใช้กากน้ำตาลในปริมาณที่มากเพื่อจะใช้เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์เชื้อราดีที่นำมาฉีดพ่นทางใบ เมื่อมีการฉีดพ่นกากน้ำตาลอาจจะยังย่อยสลายไม่หมดเกิดการตกค้างบริเวณใบก็ส่งผลให้เกิดราดำได้ เพราะกากน้ำตาลสามารถเป็นแหล่งพลังงานการสร้างเชื้อราได้
4. เพลี้ยชนิดต่าง ๆ เช่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยจำพวกนี้เมื่อดูดกินน้ำเลี้ยงภายในเนื้อเยื่อพืช และขับถ่ายมูลออกมามูลของเพลี้ยจำพวกนี้มีรสหวาน หอม คล้ายน้ำผึ่ง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของเชื้อราและสามารถพบเชื้อราดำปรากฏร่วมด้วยบ่อยครั้ง
(โดยปัจจัยจากการพ่นน้ำตาลทางด่วนและเพลี้ยก่อให้เกิดโรคราดำบ่อยครั้งมากที่สุด)
การแพร่ระบาดและการก่อโรค
โดยทั่วไปสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรคจะฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ (Air-borne fungi) เมื่อลมพัดพาสปอร์ไปตกบริเวณที่มีอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อราๆ จะสร้างเส้นใยไมซีเลียมและเจริญอยู่บนผิวใบ ลำต้น กิ่ง ช่อดอกหรือบนผลของทุเรียน โดยเส้นใยจะไม่เจาะแทรกเข้าสู่เนื้อเยื่อพืช เส้นใยที่เจริญจะเป็นเส้นใยสีดำแพร่ขยายออกด้านข้างทำให้มีลักษณะเป็นคราบเขม่าหรือผงฝุ่นสีดำขึ้นปกคลุมและมีการสร้างสปอร์สืบพันธุ์จำนวนมาก หากความชื้นสัมพันธ์ในอากาศแห้งคราบราดำนี้ อาจจะแห้งตกสะเก็ดเป็นแผ่นและอาจหลุดออกจากฝนชะล้างในช่วงฤดูฝน แต่เชื้อราดำค่อนข้างยึดเกาะกับผิวพืชแน่นการชะล้างอาจทำให้คราบราดำหลุดออกเพียงบางส่วน การเกิดราดำในระยะก่อนดอกบาน หากระบาดรุนแรงจะทำให้การติดผลลดลง
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210
ติดตามเรา
บทความที่น่าสนใจ
• คำแนะนำในการปลูกทุเรียน
• ธาตุอาหารหลักในทุเรียน
• ดินที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียน
• สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนไม่ติดดอก
• พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย
ติดต่อเรา
095 198 9459
turianyimm@gmail.com
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม By ทุเรียนยิ้ม
@turianyim
ติดตาม ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
29/27 ตำบลชากไทย
อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210
ติดตามเรา
บทความที่น่าสนใจ
• คำแนะนำในการปลูกทุเรียน
• ธาตุอาหารหลักในทุเรียน
• ดินที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียน
• สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนไม่ติดดอก
• พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย
ติดต่อเรา
095 198 9459
turianyimm@gmail.com
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม By ทุเรียนยิ้ม
@turianyim
จำนวนคนดู:
518