สาเหตุทุเรียนใบไหม้

สาเหตุที่ 1 เกิดจากการให้น้ำมากจนเกินไป

เกิดจากการให้น้ำมากจนเกินไปจนเกินความต้องการของต้นทุเรียน โดยส่วนมากต้นทุเรียนจะไม่ชอบน้ำที่มาก การให้น้ำจะขึ้นอยู่ตามระยะของเวลาของต้นทุเรียน เช่น ต้นทุเรียน (ต้นเล็ก) ให้น้ำวันละ 2.3-3.4 ลิตรต่อต้น เป็นต้น (อ้างอิง ศูนย์ข่าวกรมส่งเสริมการเกษตร ) แต่เมื่อน้ำมากเกินความต้องการของต้นทุเรียนก็จะทำให้เกิดความชื้นสะสมมีการระบายหรือการดูดซึมไม่ทันก็จะทำให้เกิดเชื้อราได้

สาเหตุที่ 2 เกิดจากการขาดน้ำ

สาเหตุของการขาดน้ำก็เป็นสาเหตุที่สำคัญ ถึงทุเรียนจะไม่ชอบน้ำ แต่ก็ไม่สามารถขาดน้ำได้เช่นกัน เมื่อทุเรียนขาดน้ำก็จะทำให้รากแห้ง หรือรากตายเมื่อรากตายระบบการดูดซึมอาหารก็จะทำงานได้ไม่ดีและทำให้เกิดอาการรากเน่าตามมาเนื่องจากเชื้อราได้เข้ามาลุกลามทำให้ส่งผลกระทบไปถึงส่วนของลำต้นและใบก็จะทำให้ต้นทุเรียนมีอาการใบเหลืองและใบไหม้ได้

สาเหตุที่ 3 แหล่งน้ำพื้นที่บริเวณสวน

อีกหนึ่งสาเหตุที่หลายๆท่านชาวสวนเกษตรกรอาจมองข้ามเรื่องของแหล่งน้ำที่ใช้ในการรดทุเรียน ส่วนใหญ่มักจะเกิดในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งในฤดูแล้งแหล่งตามธรรรมชาติจะมีแร่ธาตุอยู่ในน้ำ เมื่อถึงฤดูฝนฝนตกลงมาจะทำให้แหล่งน้ำบริเวณนั้นมีการละลายหรือการเจือจางของแร่ธาตุออกไป เมื่อกลับมาเข้าสู่ฤดูร้อนหรือช่วงที่หน้าแล้งน้ำจะระเหยออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้น้ำแร่ธาตุที่อยู่ในบริเวณนั้นน้ำจะมีความเข้มข้นมากขึ้น หรือมีความเค็มมากขึ้น ซึ่งทุเรียนมีความไวต่อความเข้มข้นหรือความเค็มอยู่แล้ว จึงทำให้เมื่อมีการใช้น้ำในการรดต้นทุเรียนใบทุเรียนก็อาจจะไหม้ได้เพราะเกิดจากความเค็มของน้ำที่สะสมมา

สาเหตุที่ 4 อาการซันเบิร์น

เกิดจากอาการซันเบิร์น ต้นทุเรียนจะมีการคายน้ำตอนกลางวัน เมื่อเจอกับสภาพอากาศที่ร้อนแดดที่แรงก็มีโอกาสกระตุ้นให้เกิดการคายน้ำที่มากขึ้นตามมา ทำให้ต้นทุเรียนเกิดการสูญเสียและคายน้ำมากจนเกินไปจนทำให้เกิดอาการใบทุเรียนไหม้ได้ แต่สาเหตุจะนี้ไปจะหายไปเองในช่วงของหน้าฝนช่วงที่มีน้ำเพียงพอ

สาเหตุที่ 5 ให้ปุ๋ยมากเกินความต้องการของพืช

ใบไหม้อาจจะเกิดมาการที่ให้ปุ๋ยมากจนเกินไป หรือที่เรารู้กันว่าปุ๋ยมีความเค็มอยู่แล้วเมื่อใส่ปุ๋ยที่มากจนเกินความจำเป็นหรือไม่มีการคำนวณปริมาณสัดส่วนที่พอดีกับความต้องการของต้นทุเรียนก็จะส่งผลตามมาได้ เมื่อต้นทุเรียนได้รับปุ๋ยหรือธาตุอาหารเกินความพอดีก็จะทำให้เกิดใบไหม้ตามมาได้ แต่อาการเหล่านี้สามารถหายไปเองได้แค่ต้องรอระยะเวลาปุ๋ยย่อยสลายเหลือใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พอดีอาการใบไหม้ก็จะหายไป

สาเหตุที่ 6 เชื้อราไรซอฟโทเนีย (Rhizoctonia solani Kuehn)

คือเชื้อราของโรคใบไหม้ หรือใบติดในทุเรียน อาการ ใบมีแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบนใบบริเวณกลางใบหรือขอบใบและจะค่อยๆขยายตัวลุกลามและใบเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและแผลและใบจะมีลักษณะไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม

สาเหตุของโรค

เกิดจาก เชื้อรา ไรซอฟโทเนีย (Rhizoctonia solani Kuehn)

การแพร่ระบาดของเชื้อรา

โดยปกติแล้วเชื้อราสาเหตุของโรคจะอาศัยอยู่ในเศษซากใบทุเรียนที่หล่นลงมาอยู่บริเวณใต้โคนทุเรียน เมื่อเวลาฝนตกเชื้อราจะกระเด็นและสามารถติดกันได้ เมื่อเชื้อราเข้าทำงานที่ใบแล้วจะสร้างเส้นใยลุกลามและแพร่กระจายขยายพันธุ์ไปยังส่วนต่างๆของพืช

การป้องกันจำกัด

โดยปกติแล้วเชื้อราสาเหตุของโรคจะอาศัยอยู่ในเศษซากใบทุเรียนที่หล่นลงมาอยู่บริเวณใต้โคนทุเรียน เมื่อเวลาฝนตกเชื้อราจะกระเด็นและสามารถติดกันได้ เมื่อเชื้อราเข้าทำงานที่ใบแล้วจะสร้างเส้นใยลุกลามและแพร่กระจายขยายพันธุ์ไปยังส่วนต่างๆของพืช

สาเหตุทุเรียนใบไหม้

สาเหตุที่ 1 เกิดจากการให้น้ำมากจนเกินไป

เกิดจากการให้น้ำมากจนเกินไปจนเกินความต้องการของต้นทุเรียน โดยส่วนมากต้นทุเรียนจะไม่ชอบน้ำที่มาก การให้น้ำจะขึ้นอยู่ตามระยะของเวลาของต้นทุเรียน เช่น ต้นทุเรียน (ต้นเล็ก) ให้น้ำวันละ 2.3-3.4 ลิตรต่อต้น เป็นต้น (อ้างอิง ศูนย์ข่าวกรมส่งเสริมการเกษตร ) แต่เมื่อน้ำมากเกินความต้องการของต้นทุเรียนก็จะทำให้เกิดความชื้นสะสมมีการระบายหรือการดูดซึมไม่ทันก็จะทำให้เกิดเชื้อราได้

สาเหตุที่ 2 เกิดจากการขาดน้ำ

สาเหตุของการขาดน้ำก็เป็นสาเหตุที่สำคัญ ถึงทุเรียนจะไม่ชอบน้ำ แต่ก็ไม่สามารถขาดน้ำได้เช่นกัน เมื่อทุเรียนขาดน้ำก็จะทำให้รากแห้ง หรือรากตายเมื่อรากตายระบบการดูดซึมอาหารก็จะทำงานได้ไม่ดีและทำให้เกิดอาการรากเน่าตามมาเนื่องจากเชื้อราได้เข้ามาลุกลามทำให้ส่งผลกระทบไปถึงส่วนของลำต้นและใบก็จะทำให้ต้นทุเรียนมีอาการใบเหลืองและใบไหม้ได้

สาเหตุที่ 3 แหล่งน้ำพื้นที่บริเวณสวน

อีกหนึ่งสาเหตุที่หลายๆท่านชาวสวนเกษตรกรอาจมองข้ามเรื่องของแหล่งน้ำที่ใช้ในการรดทุเรียน ส่วนใหญ่มักจะเกิดในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งในฤดูแล้งแหล่งตามธรรรมชาติจะมีแร่ธาตุอยู่ในน้ำ เมื่อถึงฤดูฝนฝนตกลงมาจะทำให้แหล่งน้ำบริเวณนั้นมีการละลายหรือการเจือจางของแร่ธาตุออกไป เมื่อกลับมาเข้าสู่ฤดูร้อนหรือช่วงที่หน้าแล้งน้ำจะระเหยออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้น้ำแร่ธาตุที่อยู่ในบริเวณนั้นน้ำจะมีความเข้มข้นมากขึ้น หรือมีความเค็มมากขึ้น ซึ่งทุเรียนมีความไวต่อความเข้มข้นหรือความเค็มอยู่แล้ว จึงทำให้เมื่อมีการใช้น้ำในการรดต้นทุเรียนใบทุเรียนก็อาจจะไหม้ได้เพราะเกิดจากความเค็มของน้ำที่สะสมมา

สาเหตุที่ 4 อาการซันเบิร์น

เกิดจากอาการซันเบิร์น ต้นทุเรียนจะมีการคายน้ำตอนกลางวัน เมื่อเจอกับสภาพอากาศที่ร้อนแดดที่แรงก็มีโอกาสกระตุ้นให้เกิดการคายน้ำที่มากขึ้นตามมา ทำให้ต้นทุเรียนเกิดการสูญเสียและคายน้ำมากจนเกินไปจนทำให้เกิดอาการใบทุเรียนไหม้ได้ แต่สาเหตุจะนี้ไปจะหายไปเองในช่วงของหน้าฝนช่วงที่มีน้ำเพียงพอ

สาเหตุที่ 5 ให้ปุ๋ยมากเกินความต้องการของพืช

ใบไหม้อาจจะเกิดมาการที่ให้ปุ๋ยมากจนเกินไป หรือที่เรารู้กันว่าปุ๋ยมีความเค็มอยู่แล้วเมื่อใส่ปุ๋ยที่มากจนเกินความจำเป็นหรือไม่มีการคำนวณปริมาณสัดส่วนที่พอดีกับความต้องการของต้นทุเรียนก็จะส่งผลตามมาได้ เมื่อต้นทุเรียนได้รับปุ๋ยหรือธาตุอาหารเกินความพอดีก็จะทำให้เกิดใบไหม้ตามมาได้ แต่อาการเหล่านี้สามารถหายไปเองได้แค่ต้องรอระยะเวลาปุ๋ยย่อยสลายเหลือใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พอดีอาการใบไหม้ก็จะหายไป

สาเหตุที่ 6 เชื้อราไรซอฟโทเนีย (Rhizoctonia solani Kuehn)

คือเชื้อราของโรคใบไหม้ หรือใบติดในทุเรียน อาการ ใบมีแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบนใบบริเวณกลางใบหรือขอบใบและจะค่อยๆขยายตัวลุกลามและใบเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและแผลและใบจะมีลักษณะไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม

สาเหตุของโรค

เกิดจาก เชื้อรา ไรซอฟโทเนีย (Rhizoctonia solani Kuehn)

การแพร่ระบาดของเชื้อรา

โดยปกติแล้วเชื้อราสาเหตุของโรคจะอาศัยอยู่ในเศษซากใบทุเรียนที่หล่นลงมาอยู่บริเวณใต้โคนทุเรียน เมื่อเวลาฝนตกเชื้อราจะกระเด็นและสามารถติดกันได้ เมื่อเชื้อราเข้าทำงานที่ใบแล้วจะสร้างเส้นใยลุกลามและแพร่กระจายขยายพันธุ์ไปยังส่วนต่างๆของพืช

การป้องกันจำกัด

โดยปกติแล้วเชื้อราสาเหตุของโรคจะอาศัยอยู่ในเศษซากใบทุเรียนที่หล่นลงมาอยู่บริเวณใต้โคนทุเรียน เมื่อเวลาฝนตกเชื้อราจะกระเด็นและสามารถติดกันได้ เมื่อเชื้อราเข้าทำงานที่ใบแล้วจะสร้างเส้นใยลุกลามและแพร่กระจายขยายพันธุ์ไปยังส่วนต่างๆของพืช

ติดตาม ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

13/30 หมู่ที่ 7 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

@turianyim

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

13/30 หมู่ที่ 7 ตำบลชากไทย

อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี 

22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

ติดตาม ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

จำนวนคนดู: 628