Skip to content
Search for:
หน้าแรก
เกี่่ยวกับเรา
ผลิตภัณฑ์
เทคนิคเพิ่มผลผลิต
ฟื้นฟูต้น บำรุงดินและราก
ระยะแตกใบอ่อน
ใบเพสลาด
สะสมอาหารก่อนออกดอก
เปิดตาดอก
บำรุงดอก
ช่วยผสมเกสร
ใบอ่อนแตก ระยะดอกและผลอ่อน
ติดผลเล็ก
เร่งผล / บำรุงผล
ขยายผล / สร้างพู / เพิ่มน้ำหนัก
ปรับปรุงคุณภาพ / เร่งการเข้าสี
ข่าวสารและสาระความรู้
ติดต่อเรา
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
บริษัท นครจันทร์ ราชาทุเรียน จำกัด
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
บริษัท นครจันทร์ ราชาทุเรียน จำกัด
หน้าแรก
เกี่่ยวกับเรา
ผลิตภัณฑ์
เทคนิคเพิ่มผลผลิต
ฟื้นฟูต้น บำรุงดินและราก
ระยะแตกใบอ่อน
ใบเพสลาด
สะสมอาหารก่อนออกดอก
เปิดตาดอก
บำรุงดอก
ช่วยผสมเกสร
ใบอ่อนแตก ระยะดอกและผลอ่อน
ติดผลเล็ก
เร่งผล / บำรุงผล
ขยายผล / สร้างพู / เพิ่มน้ำหนัก
ปรับปรุงคุณภาพ / เร่งการเข้าสี
ข่าวสารและสาระความรู้
ติดต่อเรา
สารจับใบคืออะไร
สารจับใบ ช่วยลดแรงตึงผลของน้ำ นำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ปุ๋ยและยาทางการเกษตร มีผลทำให้ละลองของผลิตภัณฑ์เวลาที่ฉีดพ่นออกไปมีขนาดที่เล็กลง กระจายตัวได้ทั่วทั้งบริเวณนั้น ดูดซึมแห้งไว ช่วยให้สารเคมีเคลือบเกาะกับผิวใบ ไม่รวมตัวกันเป็นหยดแล้วไหลออกจากใบ (หรือถ้าให้เข้าใจโดยง่ายเวลาฉีดพ่นสารเคมีแล้วสารไม่ไหลออกจากใบสามารถยึดเกาะผิวใบได้ดีขึ้น) ช่วยให้ซึมเข้าไปได้เร็วขึ้น และยังเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยและยาไม่ทำให้เกิดการอุดตันของหัวฉีด
ประโยชน์ของสารจับใบ
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารเคมี เพราะสารจับใบสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีได้ ส่งผลให้มีละอองที่เล็กลง ทำให้กระจายตัวได้ทั่วบริเวณที่ฉีดพ่นออกไป เช่น การฉีดพ่นเข้าไปในทรงพุ่ม และยังทำให้สารเคมีที่มีส่วนสผมของสารจับใบสามารถดูดซึมได้ดีอีกด้วย
2. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของสารเคมี ลดการสูญเสียสารเคมีจากฟ้าฝน ลม และการระเหยของสารคเมี ช่วยเพิ่มอายุ และเสริมประสิทธิภาพของสารเคมี เพราะสารจับใบ ช่วยทำให้สารเคมีแห้งไว้เมื่อฉีดพ่นจึงดูดซึมไวไม่โดนชะล้างออกง่าย
3. ลดการใช้สารเคมีลง เพราะ เมื่อฉีดพ่นสารเคมีไปแล้วสารเคมีไม่รวมตัวกันเป็นหยด กระจายตัวออกจากกัน ทำให้ไม่ต้องฉีดพ่นสารเคมีซ้ำๆจนเกินความจำเป็น
4. ลดการสูญเสียของสารเคมี ที่ไม่สามารถจับติดใบพืชและตัวแมลงได้ โดยสารจับใบจะไปลดแรงตึงผิวของละอองสารเคมี ทำให้สารเคมีที่ฉีดพ่นเกาะกับผิวใบได้ดีขึ้น ช่วยให้สารเคมีที่ฉีดถูกดูดซึมเข้าสู่พืชได้มากขึ้น
5. ช่วยลดการอุดตันจากการฉีดพ่นสารเคมี เพราะสารจับใบช่วยให้เกิดการกระจายตัวเมื่อทำการฉีดพ้นสารเคมี ทำให้ไม่เกิดตะกอน ส่งผลให้ท่อและหัวฉีดไม่อุตันได้ง่าย
6. ทำให้พืชไม่เป็นคราบจากสารเคมีที่ใช้ เมื่อใช้สารเคมีฉีดพ่นบางครั้งอาจฉีดพ่นจนเกินความจำเป็นหรือมีการฉีดพ่นซ้ำ ๆ สารเคมีจะทิ้งคราบและร่องรอย ดังนั้นสารจับทำให้เกิดกระจายตัวได้ดีจึงช่วยให้สารเคมีไม่เกิดร่องรอย
การเลือกใช้สารจับใบ
ในท้องตลาดจะมีสารจับใบหลายเกรด หลายราคา จึงควรพิจารณาจากคุณสมบัติของสารจับใบ ความเหมาะสมกับสารเคมี(ปุ๋ยยา) ที่เราจะฉีดร่วมด้วย อัตราการใช้ และสารเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งมีมากมายหลายชนิด อาจแบ่งได้คร่าวๆ ดังนี้
1. สารจับติด (stickers หรือ sticking agents) ช่วยให้สารเคมีที่เราฉีดร่วม เกาะติดแน่นอยู่บนใบ จึงทำให้สารเคมีดังกล่าวไม่ถูกน้ำฝนชะออกไป เหมาะสำหรับใช้ร่วมกับสารเคมีที่ออกฤทธิ์สัมผัส ไม่เน้นดูดซึม หรือพวกสารชีวภัณฑ์
2. สารแพร่กระจาย (spreader) จะไปลดแรงตึงผิวของน้ำยาลง ทำให้น้ำยาแผ่กระจายไปทั่วผิวใบอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ถูกดูดซึมเข้าใบพืชได้มาก เนื่องจากมีพื้นผิวสัมผัสมาก เหมาะสำหรับใช้ร่วมกับสารเคมีประเภทดูดซึม
3. สารแทรกซึม (penetrater) เร่งประสิทธิภาพการดูดซึมผ่านผิวใบให้เร็วยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับใช้ร่วมกับสารเคมีที่เคลื่อนย้ายได้ยาก ซึมยาก
ใช้น้ำยาล้างจานแทนสารจับใบได้หรือไม่
ใช้ได้ เนื่องจากน้ำยาล้างจานก็มีคุณสมบัติในการลดแรงตึงผิวเช่นกัน จึงช่วยให้น้ำยาติดกับใบได้มากขึ้น แต่มีประสิทธิภาพที่น้อยกว่าสารจับใบ ที่มีคุณสมบัติที่เฉพาะกว่า และมีสารเสริมประสิทธิภาพต่างๆ แต่ไม่ควรใช้น้ำยาล้างจานผสมกับสารชีวภัณฑ์เพราะน้ำยาล้างจาน อาจไปยับยั้งการเจริญหรือประสิทธิภาพการทำงานของสารชีวภัณฑ์ได้ จึงก่อให้เกิดความสิ้นเปลือง อีกทั้งสารจับใบมีค่า pH เป็นกลาง จึงสามารถใส่กับน้ำยาอะไรก็ได้ ทั้งที่มีค่าเป็นกรดและด่าง แต่น้ำยาล้างจานนั้นมีความเป็นด่าง อาจมีผลต่อค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำยาที่ผสมได้ จนทำให้น้ำยาที่ใช้มีประสิทธิภาพที่ลดลง
จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นประโยชน์มากมายของสารจับใบ แต่หากจะใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ควรใช้อย่างถูกวิธี ตามคำแนะนำที่ฉลาก ทั้งจะไม่ทำให้สิ้นเปลือง แล้วยังไม่ก่อผลเสียกับพืชอีกด้วย หากใช้มากเกินความจำเป็น อาจก็ให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะอาจไปทำลายไขที่เคลือบผิวใบอยู่ ทำให้ใบบาง แล้วถูกโรคและแมลงเข้าทำลายได้ง่าย
อ้างอิง
https://www.kasetsomboon.com
สารจับใบคืออะไร
สารจับใบ ช่วยลดแรงตึงผลของน้ำ นำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ปุ๋ยและยาทางการเกษตร มีผลทำให้ละลองของผลิตภัณฑ์เวลาที่ฉีดพ่นออกไปมีขนาดที่เล็กลง กระจายตัวได้ทั่วทั้งบริเวณนั้น ดูดซึมแห้งไว ช่วยให้สารเคมีเคลือบเกาะกับผิวใบ ไม่รวมตัวกันเป็นหยดแล้วไหลออกจากใบ (หรือถ้าให้เข้าใจโดยง่ายเวลาฉีดพ่นสารเคมีแล้วสารไม่ไหลออกจากใบสามารถยึดเกาะผิวใบได้ดีขึ้น) ช่วยให้ซึมเข้าไปได้เร็วขึ้น และยังเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยและยาไม่ทำให้เกิดการอุดตันของหัวฉีด
ประโยชน์ของสารจับใบ
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารเคมี เพราะสารจับใบสามารถใช้ร่วมกับสารเคมีได้ ส่งผลให้มีละอองที่เล็กลง ทำให้กระจายตัวได้ทั่วบริเวณที่ฉีดพ่นออกไป เช่น การฉีดพ่นเข้าไปในทรงพุ่ม และยังทำให้สารเคมีที่มีส่วนสผมของสารจับใบสามารถดูดซึมได้ดีอีกด้วย
2. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของสารเคมี ลดการสูญเสียสารเคมีจากฟ้าฝน ลม และการระเหยของสารคเมี ช่วยเพิ่มอายุ และเสริมประสิทธิภาพของสารเคมี เพราะสารจับใบ ช่วยทำให้สารเคมีแห้งไว้เมื่อฉีดพ่นจึงดูดซึมไวไม่โดนชะล้างออกง่าย
3. ลดการใช้สารเคมีลง เพราะ เมื่อฉีดพ่นสารเคมีไปแล้วสารเคมีไม่รวมตัวกันเป็นหยด กระจายตัวออกจากกัน ทำให้ไม่ต้องฉีดพ่นสารเคมีซ้ำๆจนเกินความจำเป็น
4. ลดการสูญเสียของสารเคมี ที่ไม่สามารถจับติดใบพืชและตัวแมลงได้ โดยสารจับใบจะไปลดแรงตึงผิวของละอองสารเคมี ทำให้สารเคมีที่ฉีดพ่นเกาะกับผิวใบได้ดีขึ้น ช่วยให้สารเคมีที่ฉีดถูกดูดซึมเข้าสู่พืชได้มากขึ้น
5. ช่วยลดการอุดตันจากการฉีดพ่นสารเคมี เพราะสารจับใบช่วยให้เกิดการกระจายตัวเมื่อทำการฉีดพ้นสารเคมี ทำให้ไม่เกิดตะกอน ส่งผลให้ท่อและหัวฉีดไม่อุตันได้ง่าย
6. ทำให้พืชไม่เป็นคราบจากสารเคมีที่ใช้ เมื่อใช้สารเคมีฉีดพ่นบางครั้งอาจฉีดพ่นจนเกินความจำเป็นหรือมีการฉีดพ่นซ้ำ ๆ สารเคมีจะทิ้งคราบและร่องรอย ดังนั้นสารจับทำให้เกิดกระจายตัวได้ดีจึงช่วยให้สารเคมีไม่เกิดร่องรอย
การเลือกใช้สารจับใบ
ในท้องตลาดจะมีสารจับใบหลายเกรด หลายราคา จึงควรพิจารณาจากคุณสมบัติของสารจับใบ ความเหมาะสมกับสารเคมี(ปุ๋ยยา) ที่เราจะฉีดร่วมด้วย อัตราการใช้ และสารเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งมีมากมายหลายชนิด อาจแบ่งได้คร่าวๆ ดังนี้
1. สารจับติด (stickers หรือ sticking agents) ช่วยให้สารเคมีที่เราฉีดร่วม เกาะติดแน่นอยู่บนใบ จึงทำให้สารเคมีดังกล่าวไม่ถูกน้ำฝนชะออกไป เหมาะสำหรับใช้ร่วมกับสารเคมีที่ออกฤทธิ์สัมผัส ไม่เน้นดูดซึม หรือพวกสารชีวภัณฑ์
2. สารแพร่กระจาย (spreader) จะไปลดแรงตึงผิวของน้ำยาลง ทำให้น้ำยาแผ่กระจายไปทั่วผิวใบอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ถูกดูดซึมเข้าใบพืชได้มาก เนื่องจากมีพื้นผิวสัมผัสมาก เหมาะสำหรับใช้ร่วมกับสารเคมีประเภทดูดซึม
3. สารแทรกซึม (penetrater) เร่งประสิทธิภาพการดูดซึมผ่านผิวใบให้เร็วยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับใช้ร่วมกับสารเคมีที่เคลื่อนย้ายได้ยาก ซึมยาก
ใช้น้ำยาล้างจานแทนสารจับใบได้หรือไม่
ใช้ได้ เนื่องจากน้ำยาล้างจานก็มีคุณสมบัติในการลดแรงตึงผิวเช่นกัน จึงช่วยให้น้ำยาติดกับใบได้มากขึ้น แต่มีประสิทธิภาพที่น้อยกว่าสารจับใบ ที่มีคุณสมบัติที่เฉพาะกว่า และมีสารเสริมประสิทธิภาพต่างๆ แต่ไม่ควรใช้น้ำยาล้างจานผสมกับสารชีวภัณฑ์เพราะน้ำยาล้างจาน อาจไปยับยั้งการเจริญหรือประสิทธิภาพการทำงานของสารชีวภัณฑ์ได้ จึงก่อให้เกิดความสิ้นเปลือง อีกทั้งสารจับใบมีค่า pH เป็นกลาง จึงสามารถใส่กับน้ำยาอะไรก็ได้ ทั้งที่มีค่าเป็นกรดและด่าง แต่น้ำยาล้างจานนั้นมีความเป็นด่าง อาจมีผลต่อค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำยาที่ผสมได้ จนทำให้น้ำยาที่ใช้มีประสิทธิภาพที่ลดลง
จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นประโยชน์มากมายของสารจับใบ แต่หากจะใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ควรใช้อย่างถูกวิธี ตามคำแนะนำที่ฉลาก ทั้งจะไม่ทำให้สิ้นเปลือง แล้วยังไม่ก่อผลเสียกับพืชอีกด้วย หากใช้มากเกินความจำเป็น อาจก็ให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะอาจไปทำลายไขที่เคลือบผิวใบอยู่ ทำให้ใบบาง แล้วถูกโรคและแมลงเข้าทำลายได้ง่าย
อ้างอิง
https://www.kasetsomboon.com
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210
ติดตามเรา
บทความที่น่าสนใจ
• คำแนะนำในการปลูกทุเรียน
• ธาตุอาหารหลักในทุเรียน
• ดินที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียน
• สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนไม่ติดดอก
• พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย
ติดต่อเรา
095 198 9459
turianyimm@gmail.com
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม By ทุเรียนยิ้ม
@turianyim
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
29/27 ตำบลชากไทย
อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210
ติดตามเรา
บทความที่น่าสนใจ
• คำแนะนำในการปลูกทุเรียน
• ธาตุอาหารหลักในทุเรียน
• ดินที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียน
• สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนไม่ติดดอก
• พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย
ติดต่อเรา
095 198 9459
turianyimm@gmail.com
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม By ทุเรียนยิ้ม
@turianyim
ติดตาม ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
จำนวนคนดู:
345