Skip to content
Search for:
หน้าแรก
เกี่่ยวกับเรา
ผลิตภัณฑ์
เทคนิคเพิ่มผลผลิต
ฟื้นฟูต้น บำรุงดินและราก
ระยะแตกใบอ่อน
ใบเพสลาด
สะสมอาหารก่อนออกดอก
เปิดตาดอก
บำรุงดอก
ช่วยผสมเกสร
ใบอ่อนแตก ระยะดอกและผลอ่อน
ติดผลเล็ก
เร่งผล / บำรุงผล
ขยายผล / สร้างพู / เพิ่มน้ำหนัก
ปรับปรุงคุณภาพ / เร่งการเข้าสี
ข่าวสารและสาระความรู้
ติดต่อเรา
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
บริษัท นครจันทร์ ราชาทุเรียน จำกัด
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
บริษัท นครจันทร์ ราชาทุเรียน จำกัด
หน้าแรก
เกี่่ยวกับเรา
ผลิตภัณฑ์
เทคนิคเพิ่มผลผลิต
ฟื้นฟูต้น บำรุงดินและราก
ระยะแตกใบอ่อน
ใบเพสลาด
สะสมอาหารก่อนออกดอก
เปิดตาดอก
บำรุงดอก
ช่วยผสมเกสร
ใบอ่อนแตก ระยะดอกและผลอ่อน
ติดผลเล็ก
เร่งผล / บำรุงผล
ขยายผล / สร้างพู / เพิ่มน้ำหนัก
ปรับปรุงคุณภาพ / เร่งการเข้าสี
ข่าวสารและสาระความรู้
ติดต่อเรา
โรครากเน่าโคนเน่า
โรครากเน่าโคนเน่าของต้นทุเรียน คือ อาการที่บริเวณ โคนต้น กิ่งหรือบริเวณผิวเปลือกของต้นทุเรียน มีคราบน้ำเกาะติดอยู่โดยสภาพของต้นทุเรียนบริเวณที่มีน้ำอยู่จะมีอาการฉ่ำน้ำและมีการไหลเยิ้มออกมา บริเวณของเนื้อเยื่อและเปลือกของต้นทุเรียนจะมีการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำหรือสีน้ำตาลเข้ม เมื่ออาการไปถึงขั้นที่ลุกลามหนักจะส่งผลให้ใบหลุดร่วงและต้นทุเรียนตายลงในเวลาต่อมา
สาเหตุ เชื้อราไฟทอปธอร่า (Phytophthora palmivora Butler Butler)
เป็นเชื้อราที่จัดอยู่ในกลุ่มของเชื้อราชั้นต่ำที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งไฟทอปธอร่า มีความหมายว่า ผู้พิฆาต หรือผู้ทำลายพืช ซึ่งเชื้อราชนิดนี้มีการเข้าทำลายพืชโดยตรง เชื้อราชนิดนี้เมื่อได้เข้าทำลายพืชแล้วค่อนข้างจะรุนแรง และสร้างความเสียหายได้อย่างรวดเร็วสร้างผลกระทบให้กับสวนทุเรียนเป็นวงกว้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชาวสวนเกษตรกรจะยับยั้งและกำจัดเชื้อราได้ตอนไหน
ลักษณะอาการโดยรวม
โดยทั่วไปแล้วเชื้อราจะเข้าทำลายต้นทุเรียนทางรากหรือโคนต้นและเริ่มเข้าสู่ระยะท่อน้ำหรือท่ออาหารของลำต้น เมื่อเชื้อเจริญเติบโต ก็จะแพร่กระจายไปทั่ว ๆ ต้น ส่งผลให้เห็นว่าเกิดอากาศเน่าที่เปลือกของลำต้น หรือที่รู้จักคืน อาการโคนเน่า ลักษณะของแผลที่พบเจอคือแผลจะเป็นสีน้ำตาล น้ำตาลแดง น้ำตาลอมม่วง ฉ่ำน้ำนิ่มเหมือนมียางแดงไหลออกมา ตามาด้วยอากาศใบเหลือง ถ้าเชื้อราแพร่กระจายไปส่วนยอดใบส่วนของปลายยอดหลุดร่วงเหลือแต่งกิ่ง ในช่วงติดผลถ้าเชื้อราเขาทำลายไปส่วนบริเวณของผล ก็จะทำให้เปลือกของผลทุเรียนเน่า เมื่อเชื้อรามีการเจริญและลุกลามไปเรื่อย ต้นทุเรียนจะทรุดโทรมและยืนต้นตายในที่สุด
ลักษณะอาการใบ
แสดงอาการใบเหลืองซีด ใบไม่เขียวสดเหี่ยวแห้งใบหลุดร่วง และสูญเสียการสังเคราะห์แสง เนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายระบบท่ออาหารภายในลำต้นทำให้ท่ออาหารผิดปกติไม่สามรารถรับธาตุอาหารได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ลักษณะอาการโคนต้น-กิ่ง
ผิวเปลือกของลำต้นหรือกิ่ง มีคราบน้ำเกาะติด เห็นได้ชัดจากต้นทุเรียนที่แห้ง ในช่วงที่สภาพอากาศชื้นจะเห็นหยดน้ำยางสีน้ำตาลแดงไหลออกมาจากรอยแผลที่แตกของลำต้นและกิ่ง น้ำยางจะค่อย ๆ แห้งไปเองในช่วงเวลากลางวันในช่วงที่สภาพอากาศร้อน ทำให้คราบน้ำยางจับบนผิวเปลือกของต้น
ลักษณะอาการภายในลำต้น
เมื่อทำการถากเปลือกของลำต้น ภายในจะเห็นเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายมีสีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม
ลักษณะอาการทางราก
เมื่อเชื้อราเข้าทำลายระบบราก เนื้อเยื่อภายในรากจะเปื่อยยุ่ยและนิ่มเมื่อมีการจับหรือใช้มือดึงจะหลุดออกจากกันได้ง่าย ผลกระทบ รากไม่สามารถรับธาตุอาหารได้ ส่งผลให้ต้นทุเรียนขาดธาตุอาหารมาเลี้ยงตัวเองทำให้ต้นทรุดโทรมและยืนต้นตายในที่สุด
การแพร่ระบาด
เชื้อราไฟทอปธอร่าเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินและยังทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง แต่เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมหรือมีอาหารสะสมที่เพียงพอ เชื้อราจะขยายพันธุ์และสร้างเส้นใยเข้าไปตามระบบรากพืชและพัฒนาสร้างเส้นใยขยายตัวภายในพืชทำให้ระบบโครงสร้างของรากทุเรียนเน่า ในสภาวะที่มีความชื้นสูงและฝนตกชุก เชื้อราจะแพร่โดยการกระเซ็นไปยังบริเวณโคนต้นหรือบริเวณต้นทุเรียนที่อยู่รอบๆ ถ้าเชื้อราอยู่ที่บริเวณใบก็จะกระเซ็นติดกันได้ อุณหภูมิก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เชื้อราไฟทอปธอร่าเจริญได้ดีในอุณหภูมิ 11-35 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิที่เชื้อราเจริญได้ดีและขยายเชื้อราจะอยู่ที่ 27.5 - 30 องศาเซลเซียส
แนวทางการจัดการโรครากเน่าโคนเน่า
แนวทางในการป้องกันจำกัดโรครากเน่าโคนเน่าควรเริ่มการดูแลตั้งแต่ช่วงเริ่มปลูกหมั่นเอาใจใส่เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราก่อโรค โดยควรเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการปลูกต้นทุเรียน ให้คำนึงถึงแหล่งน้ำที่สะอาด สภาพดินที่สมบูรณ์ อุณหภูมิและความชื้นในพื้นที่ที่เหมาะสม การเลือกกันพันธุ์ทุเรียนควรเลือกพันธุ์ทุเรียนที่มีการับรองจากแหล่งที่ซื้อหรือซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าเป็นพันธุ์ที่แข็งแรงไม่มีเชื้อราอาศัยอยู่ การดูแลตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่ม เมื่อถึงระยะเวลา 1-2 ปีควรมีการตัดแต่งทรงพุ่มเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของเชื้อราก่อโรค
แนวทางการป้องกัน
1. อย่าให้น้ำขังหรือแฉะบริเวณโคนต้น เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อราก่อโรคได้
2. ปรับสภาพดินให้มีความโปร่ง หรืออาจใช้ปุ๋ยอินทรีย์เข้ามาช่วยปรับโครงสร้างดิน เพื่อให้ระบบดินมีความโปร่งระบายน้ำได้ดี
3. ตัดแต่งทรงพุ่มให้มีความโปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก แสงแดดส่องเข้ามาถึง กิ่งของต้นทุเรียนไม่แออัดทับซ้อนกันเพื่อป้องกันการเกิดของเชื้อราและเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อรา
แนวทางการรักษา
1. ทำความสะอาดราก ตัดส่วนที่เกิดอาการเน่าที่ส่วนรากออก ทาสารเคมีกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า นำส่วนที่ติดเชื้อไปเผาทำลายเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราซ้ำ
2. ราดดินบริเวณที่เป็นเชื้อราก่อโรค และเข้าทำการควบคุมเชื้อราก่อโรคด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา และแมคตาลิคซิล
3 เปลี่ยนดินบริเวณโคนต้นทุเรียน นำดินที่มีเชื้อราออก ใส่ปูนขาว และทำการตากดินให้มีความชื้นลดลง
โรครากเน่าโคนเน่า
โรครากเน่าโคนเน่าของต้นทุเรียน คือ อาการที่บริเวณ โคนต้น กิ่งหรือบริเวณผิวเปลือกของต้นทุเรียน มีคราบน้ำเกาะติดอยู่โดยสภาพของต้นทุเรียนบริเวณที่มีน้ำอยู่จะมีอาการฉ่ำน้ำและมีการไหลเยิ้มออกมา บริเวณของเนื้อเยื่อและเปลือกของต้นทุเรียนจะมีการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำหรือสีน้ำตาลเข้ม เมื่ออาการไปถึงขั้นที่ลุกลามหนักจะส่งผลให้ใบหลุดร่วงและต้นทุเรียนตายลงในเวลาต่อมา
สาเหตุ เชื้อราไฟทอปธอร่า (Phytophthora palmivora Butler Butler)
เป็นเชื้อราที่จัดอยู่ในกลุ่มของเชื้อราชั้นต่ำที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งไฟทอปธอร่า มีความหมายว่า ผู้พิฆาต หรือผู้ทำลายพืช ซึ่งเชื้อราชนิดนี้มีการเข้าทำลายพืชโดยตรง เชื้อราชนิดนี้เมื่อได้เข้าทำลายพืชแล้วค่อนข้างจะรุนแรง และสร้างความเสียหายได้อย่างรวดเร็วสร้างผลกระทบให้กับสวนทุเรียนเป็นวงกว้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชาวสวนเกษตรกรจะยับยั้งและกำจัดเชื้อราได้ตอนไหน
ลักษณะอาการโดยรวม
โดยทั่วไปแล้วเชื้อราจะเข้าทำลายต้นทุเรียนทางรากหรือโคนต้นและเริ่มเข้าสู่ระยะท่อน้ำหรือท่ออาหารของลำต้น เมื่อเชื้อเจริญเติบโต ก็จะแพร่กระจายไปทั่ว ๆ ต้น ส่งผลให้เห็นว่าเกิดอากาศเน่าที่เปลือกของลำต้น หรือที่รู้จักคืน อาการโคนเน่า ลักษณะของแผลที่พบเจอคือแผลจะเป็นสีน้ำตาล น้ำตาลแดง น้ำตาลอมม่วง ฉ่ำน้ำนิ่มเหมือนมียางแดงไหลออกมา ตามาด้วยอากาศใบเหลือง ถ้าเชื้อราแพร่กระจายไปส่วนยอดใบส่วนของปลายยอดหลุดร่วงเหลือแต่งกิ่ง ในช่วงติดผลถ้าเชื้อราเขาทำลายไปส่วนบริเวณของผล ก็จะทำให้เปลือกของผลทุเรียนเน่า เมื่อเชื้อรามีการเจริญและลุกลามไปเรื่อย ต้นทุเรียนจะทรุดโทรมและยืนต้นตายในที่สุด
ลักษณะอาการใบ
แสดงอาการใบเหลืองซีด ใบไม่เขียวสดเหี่ยวแห้งใบหลุดร่วง และสูญเสียการสังเคราะห์แสง เนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายระบบท่ออาหารภายในลำต้นทำให้ท่ออาหารผิดปกติไม่สามรารถรับธาตุอาหารได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ลักษณะอาการโคนต้น-กิ่ง
ผิวเปลือกของลำต้นหรือกิ่ง มีคราบน้ำเกาะติด เห็นได้ชัดจากต้นทุเรียนที่แห้ง ในช่วงที่สภาพอากาศชื้นจะเห็นหยดน้ำยางสีน้ำตาลแดงไหลออกมาจากรอยแผลที่แตกของลำต้นและกิ่ง น้ำยางจะค่อย ๆ แห้งไปเองในช่วงเวลากลางวันในช่วงที่สภาพอากาศร้อน ทำให้คราบน้ำยางจับบนผิวเปลือกของต้น
ลักษณะอาการภายในลำต้น
เมื่อทำการถากเปลือกของลำต้น ภายในจะเห็นเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายมีสีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม
ลักษณะอาการทางราก
เมื่อเชื้อราเข้าทำลายระบบราก เนื้อเยื่อภายในรากจะเปื่อยยุ่ยและนิ่มเมื่อมีการจับหรือใช้มือดึงจะหลุดออกจากกันได้ง่าย ผลกระทบ รากไม่สามารถรับธาตุอาหารได้ ส่งผลให้ต้นทุเรียนขาดธาตุอาหารมาเลี้ยงตัวเองทำให้ต้นทรุดโทรมและยืนต้นตายในที่สุด
การแพร่ระบาด
เชื้อราไฟทอปธอร่าเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินและยังทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง แต่เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมหรือมีอาหารสะสมที่เพียงพอ เชื้อราจะขยายพันธุ์และสร้างเส้นใยเข้าไปตามระบบรากพืชและพัฒนาสร้างเส้นใยขยายตัวภายในพืชทำให้ระบบโครงสร้างของรากทุเรียนเน่า ในสภาวะที่มีความชื้นสูงและฝนตกชุก เชื้อราจะแพร่โดยการกระเซ็นไปยังบริเวณโคนต้นหรือบริเวณต้นทุเรียนที่อยู่รอบๆ ถ้าเชื้อราอยู่ที่บริเวณใบก็จะกระเซ็นติดกันได้ อุณหภูมิก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เชื้อราไฟทอปธอร่าเจริญได้ดีในอุณหภูมิ 11-35 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิที่เชื้อราเจริญได้ดีและขยายเชื้อราจะอยู่ที่ 27.5 - 30 องศาเซลเซียส
แนวทางการจัดการโรครากเน่าโคนเน่า
แนวทางในการป้องกันจำกัดโรครากเน่าโคนเน่าควรเริ่มการดูแลตั้งแต่ช่วงเริ่มปลูกหมั่นเอาใจใส่เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราก่อโรค โดยควรเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการปลูกต้นทุเรียน ให้คำนึงถึงแหล่งน้ำที่สะอาด สภาพดินที่สมบูรณ์ อุณหภูมิและความชื้นในพื้นที่ที่เหมาะสม การเลือกกันพันธุ์ทุเรียนควรเลือกพันธุ์ทุเรียนที่มีการับรองจากแหล่งที่ซื้อหรือซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าเป็นพันธุ์ที่แข็งแรงไม่มีเชื้อราอาศัยอยู่ การดูแลตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่ม เมื่อถึงระยะเวลา 1-2 ปีควรมีการตัดแต่งทรงพุ่มเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของเชื้อราก่อโรค
แนวทางการป้องกัน
1. อย่าให้น้ำขังหรือแฉะบริเวณโคนต้น เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อราก่อโรคได้
2. ปรับสภาพดินให้มีความโปร่ง หรืออาจใช้ปุ๋ยอินทรีย์เข้ามาช่วยปรับโครงสร้างดิน เพื่อให้ระบบดินมีความโปร่งระบายน้ำได้ดี
3. ตัดแต่งทรงพุ่มให้มีความโปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก แสงแดดส่องเข้ามาถึง กิ่งของต้นทุเรียนไม่แออัดทับซ้อนกันเพื่อป้องกันการเกิดของเชื้อราและเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อรา
แนวทางการรักษา
1. ทำความสะอาดราก ตัดส่วนที่เกิดอาการเน่าที่ส่วนรากออก ทาสารเคมีกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า นำส่วนที่ติดเชื้อไปเผาทำลายเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราซ้ำ
2. ราดดินบริเวณที่เป็นเชื้อราก่อโรค และเข้าทำการควบคุมเชื้อราก่อโรคด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา และแมคตาลิคซิล
3 เปลี่ยนดินบริเวณโคนต้นทุเรียน นำดินที่มีเชื้อราออก ใส่ปูนขาว และทำการตากดินให้มีความชื้นลดลง
โรครากเน่าโคนเน่า
โรครากเน่าโคนเน่าของต้นทุเรียน คือ อาการที่บริเวณ โคนต้น กิ่งหรือบริเวณผิวเปลือกของต้นทุเรียน มีคราบน้ำเกาะติดอยู่โดยสภาพของต้นทุเรียนบริเวณที่มีน้ำอยู่จะมีอาการฉ่ำน้ำและมีการไหลเยิ้มออกมา บริเวณของเนื้อเยื่อและเปลือกของต้นทุเรียนจะมีการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำหรือสีน้ำตาลเข้ม เมื่ออาการไปถึงขั้นที่ลุกลามหนักจะส่งผลให้ใบหลุดร่วงและต้นทุเรียนตายลงในเวลาต่อมา
สาเหตุ เชื้อราไฟทอปธอร่า (Phytophthora palmivora Butler Butler)
เป็นเชื้อราที่จัดอยู่ในกลุ่มของเชื้อราชั้นต่ำที่อาศัยอยู่ในดิน ซึ่งไฟทอปธอร่า มีความหมายว่า ผู้พิฆาต หรือผู้ทำลายพืช ซึ่งเชื้อราชนิดนี้มีการเข้าทำลายพืชโดยตรง เชื้อราชนิดนี้เมื่อได้เข้าทำลายพืชแล้วค่อนข้างจะรุนแรง และสร้างความเสียหายได้อย่างรวดเร็วสร้างผลกระทบให้กับสวนทุเรียนเป็นวงกว้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชาวสวนเกษตรกรจะยับยั้งและกำจัดเชื้อราได้ตอนไหน
ลักษณะอาการโดยรวม
โดยทั่วไปแล้วเชื้อราจะเข้าทำลายต้นทุเรียนทางรากหรือโคนต้นและเริ่มเข้าสู่ระยะท่อน้ำหรือท่ออาหารของลำต้น เมื่อเชื้อเจริญเติบโต ก็จะแพร่กระจายไปทั่ว ๆ ต้น ส่งผลให้เห็นว่าเกิดอากาศเน่าที่เปลือกของลำต้น หรือที่รู้จักคืน อาการโคนเน่า ลักษณะของแผลที่พบเจอคือแผลจะเป็นสีน้ำตาล น้ำตาลแดง น้ำตาลอมม่วง ฉ่ำน้ำนิ่มเหมือนมียางแดงไหลออกมา ตามาด้วยอากาศใบเหลือง ถ้าเชื้อราแพร่กระจายไปส่วนยอดใบส่วนของปลายยอดหลุดร่วงเหลือแต่งกิ่ง ในช่วงติดผลถ้าเชื้อราเขาทำลายไปส่วนบริเวณของผล ก็จะทำให้เปลือกของผลทุเรียนเน่า เมื่อเชื้อรามีการเจริญและลุกลามไปเรื่อย ต้นทุเรียนจะทรุดโทรมและยืนต้นตายในที่สุด
ลักษณะอาการใบ
แสดงอาการใบเหลืองซีด ใบไม่เขียวสดเหี่ยวแห้งใบหลุดร่วง และสูญเสียการสังเคราะห์แสง เนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายระบบท่ออาหารภายในลำต้นทำให้ท่ออาหารผิดปกติไม่สามรารถรับธาตุอาหารได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ลักษณะอาการโคนต้น-กิ่ง
ผิวเปลือกของลำต้นหรือกิ่ง มีคราบน้ำเกาะติด เห็นได้ชัดจากต้นทุเรียนที่แห้ง ในช่วงที่สภาพอากาศชื้นจะเห็นหยดน้ำยางสีน้ำตาลแดงไหลออกมาจากรอยแผลที่แตกของลำต้นและกิ่ง น้ำยางจะค่อย ๆ แห้งไปเองในช่วงเวลากลางวันในช่วงที่สภาพอากาศร้อน ทำให้คราบน้ำยางจับบนผิวเปลือกของต้น
ลักษณะอาการภายในลำต้น
เมื่อทำการถากเปลือกของลำต้น ภายในจะเห็นเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายมีสีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม
ลักษณะอาการทางราก
เมื่อเชื้อราเข้าทำลายระบบราก เนื้อเยื่อภายในรากจะเปื่อยยุ่ยและนิ่มเมื่อมีการจับหรือใช้มือดึงจะหลุดออกจากกันได้ง่าย ผลกระทบ รากไม่สามารถรับธาตุอาหารได้ ส่งผลให้ต้นทุเรียนขาดธาตุอาหารมาเลี้ยงตัวเองทำให้ต้นทรุดโทรมและยืนต้นตายในที่สุด
การแพร่ระบาด
เชื้อราไฟทอปธอร่าเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินและยังทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง แต่เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมหรือมีอาหารสะสมที่เพียงพอ เชื้อราจะขยายพันธุ์และสร้างเส้นใยเข้าไปตามระบบรากพืชและพัฒนาสร้างเส้นใยขยายตัวภายในพืชทำให้ระบบโครงสร้างของรากทุเรียนเน่า ในสภาวะที่มีความชื้นสูงและฝนตกชุก เชื้อราจะแพร่โดยการกระเซ็นไปยังบริเวณโคนต้นหรือบริเวณต้นทุเรียนที่อยู่รอบๆ ถ้าเชื้อราอยู่ที่บริเวณใบก็จะกระเซ็นติดกันได้ อุณหภูมิก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เชื้อราไฟทอปธอร่าเจริญได้ดีในอุณหภูมิ 11-35 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิที่เชื้อราเจริญได้ดีและขยายเชื้อราจะอยู่ที่ 27.5 - 30 องศาเซลเซียส
แนวทางการจัดการโรครากเน่าโคนเน่า
แนวทางในการป้องกันจำกัดโรครากเน่าโคนเน่าควรเริ่มการดูแลตั้งแต่ช่วงเริ่มปลูกหมั่นเอาใจใส่เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราก่อโรค โดยควรเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการปลูกต้นทุเรียน ให้คำนึงถึงแหล่งน้ำที่สะอาด สภาพดินที่สมบูรณ์ อุณหภูมิและความชื้นในพื้นที่ที่เหมาะสม การเลือกกันพันธุ์ทุเรียนควรเลือกพันธุ์ทุเรียนที่มีการับรองจากแหล่งที่ซื้อหรือซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าเป็นพันธุ์ที่แข็งแรงไม่มีเชื้อราอาศัยอยู่ การดูแลตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่ม เมื่อถึงระยะเวลา 1-2 ปีควรมีการตัดแต่งทรงพุ่มเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของเชื้อราก่อโรค
แนวทางการป้องกัน
1. อย่าให้น้ำขังหรือแฉะบริเวณโคนต้น เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อราก่อโรคได้
2. ปรับสภาพดินให้มีความโปร่ง หรืออาจใช้ปุ๋ยอินทรีย์เข้ามาช่วยปรับโครงสร้างดิน เพื่อให้ระบบดินมีความโปร่งระบายน้ำได้ดี
3. ตัดแต่งทรงพุ่มให้มีความโปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก แสงแดดส่องเข้ามาถึง กิ่งของต้นทุเรียนไม่แออัดทับซ้อนกันเพื่อป้องกันการเกิดของเชื้อราและเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อรา
แนวทางการรักษา
1. ทำความสะอาดราก ตัดส่วนที่เกิดอาการเน่าที่ส่วนรากออก ทาสารเคมีกำจัดโรครากเน่าโคนเน่า นำส่วนที่ติดเชื้อไปเผาทำลายเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราซ้ำ
2. ราดดินบริเวณที่เป็นเชื้อราก่อโรค และเข้าทำการควบคุมเชื้อราก่อโรคด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา และแมคตาลิคซิล
3 เปลี่ยนดินบริเวณโคนต้นทุเรียน นำดินที่มีเชื้อราออก ใส่ปูนขาว และทำการตากดินให้มีความชื้นลดลง
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210
ติดตามเรา
บทความที่น่าสนใจ
• คำแนะนำในการปลูกทุเรียน
• ธาตุอาหารหลักในทุเรียน
• ดินที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียน
• สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนไม่ติดดอก
• พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย
ติดต่อเรา
095 198 9459
turianyimm@gmail.com
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม By ทุเรียนยิ้ม
@turianyim
ติดตาม ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
29/27 ตำบลชากไทย
อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210
ติดตามเรา
บทความที่น่าสนใจ
• คำแนะนำในการปลูกทุเรียน
• ธาตุอาหารหลักในทุเรียน
• ดินที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียน
• สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนไม่ติดดอก
• พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย
ติดต่อเรา
095 198 9459
turianyimm@gmail.com
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม By ทุเรียนยิ้ม
@turianyim
จำนวนคนดู:
616