Skip to content
Search for:
หน้าแรก
เกี่่ยวกับเรา
ผลิตภัณฑ์
ข่าวสารและสาระความรู้
ติดต่อเรา
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
บริษัท นครจันทร์ ราชาทุเรียน จำกัด
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
บริษัท นครจันทร์ ราชาทุเรียน จำกัด
หน้าแรก
เกี่่ยวกับเรา
ผลิตภัณฑ์
ข่าวสารและสาระความรู้
ติดต่อเรา
ประเภทของหนอนเจาะดอก-เจาะผลทุเรียน แบ่งออก
หนอนเจาะสมอฝ้าย
(Cottonballoworm)
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Helicoverpa armigera (Hubner)
ตัวเต็มวัยจะเป็นผีเสื้อกลางคืนเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามส่วนต่าง ๆ ของพืชโดยพบว่าระยะการเข้าทำลายของต้นทุเรียนจะอยู่ในช่วงของมะเขือพวง “กรมวิชาการเกษตร” ให้คำนิยามไว้ว่า หนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นหนอนที่มีแถบสีน้ำตาลแกมเหลือง หรือมีสีดำพาดยาวตามลำตัว ด้านหลังเป็นสีเขียวอ่อน เหลืองปนส้มหรือมีสีเทามีขนเส้นเล็ก ๆ ทั่วไปรอยต่อระหว่างปล้องเห็นได้ชัดเจนกว่าหนอนตัวอื่น เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง ค่อนข้างดุ หากจับจะถูกกัดทันที
หนอนเจาะผลทุเรียน หรือ หนอนเจาะผลละหุ่ง (fruit boring caterpillar)
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Conogethes punctiferalis (Guenee)
การเข้าทำลายจะเข้าทำลายตั้งแต่ทุเรียนผลเล็ก อายุประมาณ 1 เดือนครึ่งไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยวทำให้ผลของทุเรียนเน่าและหลุดร่วง ตัวเต็มวัยคือผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก มักวางไข่บริเวณผิวเปลือกของผลทุเรียนที่ออกลูกติดกัน ตัวหนอนที่ฝีกออกมาจะมีสีขาว และเริ่มแทงและเจาะบริเวณของผิวเปลือกก่อน เมื่อโตขึ้นจะเข้าไปทำลายบริเวณภายในผลโดยจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้ชัดเจน และมักจะพบว่ามีน้ำไหลเยิ้มออกมาจากบริเวณผล
หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน หรือ หนอนใต้ หนอนมาเลย์ หนอนรู (Durian seed borer)
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Mudaria luteileprosa Holloway
พบว่ามีการเข้าทำลายตั้งแต่ระยะผลอ่อน อายุเดือนกว่าเป็นต้นไป หนอนเจาะเม็ดทุเรียนไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากผิวเปลือกของทุเรียน ต่อเมื่อหนอนจะเข้าสู่ระยะเป็นดักแด้จะเจาะเปลือกออกมาเป็นรู “กรมวิชาการเกษตร” ให้คำนิยามลักษณะการทำลายไว้ว่า หนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเป็นแมลงศัตรูที่มีความสำคัญและทำความเสียหายต่อผลผลิตทุเรียนหนอนชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศมาเลเซีย แล้วระบาดเข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทย การนำเมล็ดพันธุ์จาก ทางภาคใต้มาเป็นเหตุทำให้หนอนชนิดนี้ติดมาด้วย เกษตรกรจึงเรียกหนอนชนิดนี้ว่า“หนอนใต้” หรือ “หนอนมาเลย์” หนอนชนิดนี้เมื่อเข้าทำลายผลทุเรียนจะไม่สามารถสังเกตจากลักษณะภายนอกได้ หนอนที่เจาะเข้าไปในผลทุเรียนถ่ายมูลออกมาปะปนอยู่กับเนื้อทุเรียน ทำให้เกษตรกรไม่สามารถขายเนื้อทุเรียนสดได้ ต้องนำไปแปรรูปซึ่งราคาต่ำทำให้สูญเสียรายได้ จนกระทั่งเมื่อหนอนโตเต็มที่พร้อมเข้าดักแด้ จะเจาะเปลือกเป็นรูออกมาและทิ้งตัวลงบนพื้นดินเพื่อเข้าดักแด้ในดิน เห็นแต่รูไม่พบตัวหนอนอยู่ภายในหรือบางครั้งพบความเสียหายเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จึงเรียกหนอนชนิดนี้อีกชื่อว่า "หนอนรู"
ประเภทของหนอนเจาะดอก-เจาะผลทุเรียน แบ่งออก
หนอนเจาะสมอฝ้าย ( Cottonballoworm )
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Helicoverpa armigera (Hubner)
ตัวเต็มวัยจะเป็นผีเสื้อกลางคืนเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามส่วนต่าง ๆ ของพืชโดยพบว่าระยะการเข้าทำลายของต้นทุเรียนจะอยู่ในช่วงของมะเขือพวง “กรมวิชาการเกษตร” ให้คำนิยามไว้ว่า หนอนเจาะสมอฝ้าย เป็นหนอนที่มีแถบสีน้ำตาลแกมเหลือง หรือมีสีดำพาดยาวตามลำตัว ด้านหลังเป็นสีเขียวอ่อน เหลืองปนส้มหรือมีสีเทามีขนเส้นเล็ก ๆ ทั่วไปรอยต่อระหว่างปล้องเห็นได้ชัดเจนกว่าหนอนตัวอื่น เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง ค่อนข้างดุ หากจับจะถูกกัดทันที
หนอนเจาะผลทุเรียน หรือ หนอนเจาะผลละหุ่ง (fruit boring caterpillar)
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Conogethes punctiferalis (Guenee)
การเข้าทำลายจะเข้าทำลายตั้งแต่ทุเรียนผลเล็ก อายุประมาณ 1 เดือนครึ่งไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยวทำให้ผลของทุเรียนเน่าและหลุดร่วง ตัวเต็มวัยคือผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก มักวางไข่บริเวณผิวเปลือกของผลทุเรียนที่ออกลูกติดกัน ตัวหนอนที่ฝีกออกมาจะมีสีขาว และเริ่มแทงและเจาะบริเวณของผิวเปลือกก่อน เมื่อโตขึ้นจะเข้าไปทำลายบริเวณภายในผลโดยจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้ชัดเจน และมักจะพบว่ามีน้ำไหลเยิ้มออกมาจากบริเวณผล
หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน หรือ หนอนใต้ หนอนมาเลย์ หนอนรู (Durian seed borer)
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Mudaria luteileprosa Holloway
พบว่ามีการเข้าทำลายตั้งแต่ระยะผลอ่อน อายุเดือนกว่าเป็นต้นไป หนอนเจาะเม็ดทุเรียนไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากผิวเปลือกของทุเรียน ต่อเมื่อหนอนจะเข้าสู่ระยะเป็นดักแด้จะเจาะเปลือกออกมาเป็นรู “กรมวิชาการเกษตร” ให้คำนิยามลักษณะการทำลายไว้ว่า หนอนเจาะเมล็ดทุเรียนเป็นแมลงศัตรูที่มีความสำคัญและทำความเสียหายต่อผลผลิตทุเรียนหนอนชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศมาเลเซีย แล้วระบาดเข้ามาทางภาคใต้ของประเทศไทย การนำเมล็ดพันธุ์จาก ทางภาคใต้มาเป็นเหตุทำให้หนอนชนิดนี้ติดมาด้วย เกษตรกรจึงเรียกหนอนชนิดนี้ว่า“หนอนใต้” หรือ “หนอนมาเลย์” หนอนชนิดนี้เมื่อเข้าทำลายผลทุเรียนจะไม่สามารถสังเกตจากลักษณะภายนอกได้ หนอนที่เจาะเข้าไปในผลทุเรียนถ่ายมูลออกมาปะปนอยู่กับเนื้อทุเรียน ทำให้เกษตรกรไม่สามารถขายเนื้อทุเรียนสดได้ ต้องนำไปแปรรูปซึ่งราคาต่ำทำให้สูญเสียรายได้ จนกระทั่งเมื่อหนอนโตเต็มที่พร้อมเข้าดักแด้ จะเจาะเปลือกเป็นรูออกมาและทิ้งตัวลงบนพื้นดินเพื่อเข้าดักแด้ในดิน เห็นแต่รูไม่พบตัวหนอนอยู่ภายในหรือบางครั้งพบความเสียหายเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จึงเรียกหนอนชนิดนี้อีกชื่อว่า "หนอนรู"
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210
ติดตามเรา
บทความที่น่าสนใจ
• คำแนะนำในการปลูกทุเรียน
• ธาตุอาหารหลักในทุเรียน
• ดินที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียน
• สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนไม่ติดดอก
• พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย
ติดต่อเรา
095 198 9459
turianyimm@gmail.com
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม By ทุเรียนยิ้ม
@turianyim
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
29/27 ตำบลชากไทย
อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210
ติดตามเรา
บทความที่น่าสนใจ
• คำแนะนำในการปลูกทุเรียน
• ธาตุอาหารหลักในทุเรียน
• ดินที่เหมาะสมกับการปลูกทุเรียน
• สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนไม่ติดดอก
• พันธุ์ทุเรียนในประเทศไทย
ติดต่อเรา
095 198 9459
turianyimm@gmail.com
ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม By ทุเรียนยิ้ม
@turianyim
ติดตาม ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม
จำนวนคนดู:
236