ขณะนี้ผู้ส่งออกทุเรียนกำลังเผชิญปัญหาหนักอีกแล้ว หลังจากปัญหาทุเรียนไทยปนเปื้อนสารแคดเมียมยังไม่ทันจางหาย เกิดพายุและมีน้ำท่วมหนัก ส่งผลให้ถนนเส้นทางไปด่านโมฮาน อยู่ชายแดน สปป.ลาว-จีน ถูกตัดขาด และน้ำท่วม ส่งผลให้รถบรรทุกขนส่งผลไม้ทั้งทุเรียน ลำไย มังคุด ติดสะสมอยู่ที่ด่านนับ 100 ตู้ คาดว่าต้องใช้ระยะเวลานานถึง 15 วัน กว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยเฉพาะทุเรียนตู้ละ 2-3 ล้านบาท เสียหายหนัก คาดการณ์ว่าจากการส่งออกวันละ 40-50 ตู้ ทำให้มีตู้ค้างอยู่ในระยะ 4-5 วัน กว่าหลาย 100 ตู้ มูลค่าความเสียหายมากกว่า 100 ล้านบาท ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เบนเข็มกลับมาส่งออกทางด่านโหย่วอี้กวน ทางรถไฟและทางเรือ ปรากฏว่าต้องเผชิญกับการปรับราคาค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็น 2 เท่า ดังนั้น ผู้ประกอบการบางรายเลือกนำกลับมาขายให้ธุรกิจห้องเย็นทำทุเรียนแช่แข็งในราคาถูก
ฝ่ายเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว แจ้งว่าผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าข้ามแดนด่านบ่อเต็น-ด่านโมฮาน จากปัญหาอุทกภัยใน สปป.ลาว อันเนื่องมาจาก “พายุไต้ฝุ่นยางิ” ทำให้เกิดอุทกภัยระดับร้ายแรงในแขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาว ส่งผลให้มีผู้ประสบภัยจำนวนมาก และเส้นทางสัญจรอันเนื่องมาจากดินถล่ม ถนนชำรุด และน้ำท่วมสูง โดยเฉพาะเส้นทางขนส่งสินค้าไปยังด่านบ่อเต็น (เส้นทาง R3A) รวมทั้งยังมีน้ำท่วมสูงบริเวณด่านบ่อเต็นฝั่งลาว ปัจจุบันด่านโมฮานฝั่งจีนไม่มีการประกาศระงับการขนส่งสินค้าข้ามแดน และสามารถรองรับการขนส่งสินค้าข้ามแดนจากฝั่งลาวได้ แต่มีอุปสรรคที่รถสินค้าจากฝั่งลาว ไม่สามารถเดินทางไปยังด่านโมฮานของจีนได้ อีกทั้งลานสินค้าฝั่งลาวไม่สามารถรองรับรถสินค้าของจีนได้ เนื่องจากชายแดนด่านบ่อเต็นและเส้นทางขนส่งสินค้าข้ามแดนที่เชื่อมจากด่านบ่อเต็นของลาวไปยังด่านโมฮานของจีนมีน้ำท่วมสูง ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรตรวจสอบข้อมูลก่อนการส่งออกสินค้าผ่าน สปป.ลาว ไปยังด่านบ่อเต็น-โมฮาน นายมณฑล ปริวัฒน์ ผู้บริหาร บริษัท อรษา ฟรุ๊ต จำกัด ผู้ส่งออกมังคุดไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าปัญหาการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ผลไม้ไปติดที่บริเวณด่านโมฮานเป็นจำนวนมากนั้น ความเสียหายรวมๆ น่าจะประมาณ 100 ล้านบาท จากราคาทุเรียนตู้ละประมาณ 3-4 ล้านบาท มังคุด 3 ล้านบาท ผู้ประกอบการบางรายประเมินว่าน่าจะใช้เวลารอเคลียร์ 1-2 สัปดาห์ จึงมีการเปลี่ยนเส้นทางขนส่งไปใช้ทางอื่น เช่น ทางรถไฟ ทางเรือ หรือไปใช้ด่านโหย่วอี้กวนทางด้าน จ.นครพนม ซึ่งทำให้ด่านโหย่วอี้กวนมีปริมาณรถสะสมจำนวนมากเช่นกัน และใช้เวลาขนส่งผ่านด่านนานถึง 7 วัน จากปกติ 2-3 วัน เนื่องจากที่ด่านจะมีการสุ่มตรวจแมลงและศัตรูพืช 30% และตรวจเข้มสารปนเปื้อนแคดเมียม หรือขนกลับมาขายให้ห้องเย็น “สถานการณ์ขนส่งตอนนี้เทียบเท่ากับช่วงโควิด-19 ทั้งเส้นทางขนส่งไปด่านโมฮานประมาณ 400 กิโลเมตร เสียหายหนัก การเปลี่ยนการขนส่งไปด่านอื่นต้องเสียค่าขนส่งเพิ่มขึ้นบางรายขนกลับมาขายราคาถูกให้ห้องเย็นหากเปลี่ยนไปใช้ทางรถไฟ ทางเรือ ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ต้องเสียค่าเช่าตู้ใหม่ เพราะเดิมเป็นตู้คอนเทนเนอร์ทางบกค่าขนส่งเพิ่มขึ้น และการขนส่งทางรถไฟจะไม่มีการจองพื้นที่ ต้องรอพื้นที่ว่างและต่อคิว และค่าขนส่งปรับราคาเพิ่มขึ้นทั้งทางเรือ ทางเครื่องบิน รถไฟ แต่การส่งออกไปตลาดปลายทางยังเสียหายน้อยกว่าแต่นำกลับมาตลาดภายในประเทศต้องขายในราคาห้องเย็น ที่สำคัญเสียโอกาสการทำตลาดในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ในวันที่ 17 กันยายน 2567” นายมณฑลกล่าว
ทางด้านบริษัทผู้ส่งออกทุเรียนแห่งหนึ่งใน จ.ชุมพร กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าปกติจะใช้การขนส่งผ่านด่านโหย่วอี้กวนที่ออกทาง จ.นครพนม ผ่าน สปป.ลาวไปด่านเวียดนาม ปกติใช้เวลาขนส่ง 5-7 วัน ซึ่งที่ผ่านมาด่านโมฮานมีปัญหาน้ำท่วมฝนตกหนัก มีผู้ประกอบการย้ายไปขนส่งทางโหย่วอี้กวน ทำให้ช่วง 4-5 วันที่ผ่านมาด่านมีความแออัดต้องใช้ระยะเวลานานขึ้น เพราะมีการตรวจแมลงศัตรูพืชและแคดเมียมด้วย แต่ได้เข้าสู่สถานการณ์ปกติแล้ว เพราะเป็นช่วงที่ปริมาณทุเรียนไทยส่งออกน้อยเฉลี่ยวันละ 30-40 ตู้ “จากสถานการณ์ขนส่งตู้ติดอยู่ด่านใช้เวลาเพิ่มขึ้นปกติผู้ส่งออกต้องปรับตัวชะลอการสุกทุเรียนให้นานวันขึ้นใช้น้ำยาป้ายขั้วให้สุกช้าลงจาก 7 วัน เป็น 10 วัน และใช้ระยะเวลาการบ่มน้อยลงจาก 10 วัน เหลือ 8 วัน เพราะถ้าไปติดที่ด่านแล้วขนกลับหรือส่งออกไม่ทันระยะเวลาเกิน 3-4 วัน ทุเรียนจะแตกเสียหายขาดทุน ส่วนใหญ่จะย้ายด่านส่งออกไปโหย่วอี้กวน เพราะเอกสารส่งออกทำไว้แล้ว แต่จะเสียค่าขนส่งเพิ่มขึ้นตู้ละ 30,000-40,000 บาท จากปกติตู้ละ 180,000-190,000 บาท เพิ่มขึ้นตู้ละ 220,000-230,000 บาท ถ้าเอากลับต้นทุนตู้ละ 2.5 ล้านบาท ขายภายในประเทศจะได้ 1.5 ล้านเท่านั้น แต่ถ้าส่งออกได้ต้นทุนเพิ่ม แต่จะขาดทุนน้อยกว่าผู้ประกอบการคาดว่าช่วงไหว้พระจันทร์ปีนี้จะราคาดีกว่าปีก่อนที่ราคาไม่ดีนัก แต่ตอนนี้แผงปิดหลายแห่ง แต่ราคาไม่ลงมากนัก กก.ละ 120-130 บาท เพราะยังต้องซื้อแข่งกับทุเรียนเวียดนาม” แหล่งข่าวกล่าว ด้าน นายภาณุวัชน์ ไหมแก้ว นายกสมาคมผู้ส่งออกทุเรียน มังคุด กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า น้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติที่สุดวิสัย แต่ปัญหายังไม่หนักเท่าสารปนเปื้อนแคดเมียม ทำให้มีปัญหาตลาดปลายทาง ช่วงที่น้ำท่วมเส้นทางไปด่านโมฮาน ทางบ่อเต็นของลาว บริษัทชิปปิ้งจะต้องเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งไทย-ลาว-จีนไปด่านบก ด้าน จ.นครพนมไปด่านโหย่วอี้กวนรวมทั้งใช้ขนส่งทางรถไฟ จาก จ.หนองคาย เข้าที่ท่านาแล้ง สปป.ลาว และทางเรือที่แหลมฉบัง ที่ผ่านมาพบปัญหาการถ่ายตู้จากทางบกมาใส่ตู้รถไฟ และตู้ขนส่งทางเรือ ซึ่งต้องเปลี่ยนระหว่างทาง หลังออกมาจากโรงคัดบรรจุ จ.ชุมพร จ.นครศรีธรรมราชแล้ว การเปลี่ยนตู้เพื่อส่งออกอีกรอบเท่ากับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 2 เด้ง ทั้งค่าตู้ ค่าหัวรถลาก และเสียเวลามากขึ้น ผู้ประกอบการต้องการให้หน่วยราชการที่จัดทำเอกสารส่งออกช่วยอำนวยความสะดวกเมื่อต้องเปลี่ยนระบบการขนส่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้การระบายผลไม้ออกไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่เช่นนั้นทุเรียนจะเสียหายต้องนำกลับมาขายราคาตลาดห้องเย็น
ด้าน นายดำรงศักดิ์ สินศักดิ์ ประธานศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ต.บ้านนา อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ทุเรียนที่ติดอยู่ที่ด่านโมฮานเป็นจำนวนกว่า 100 ตู้ คาดว่าจะใช้เวลาเคลียร์ประมาณ 15 วัน ซึ่งจะทำให้ล้งขาดทุน เสียหายเป็นจำนวนมาก จากราคาทุเรียนตู้ละ 3-4 ล้านบาท ทำให้ผู้รับซื้อทุเรียนที่ จ.ชุมพร รายใหญ่ ๆ หยุดรับซื้อกันหลายราย และปรับราคาลง ราคาที่คาดว่าในช่วงต้นเดือนกันยายนจะเพิ่มขึ้น กก.ละ 180-190 บาท เพราะใกล้หมดฤดู ราคากลับดิ่งลงไปเหลือ 120-130 บาท เป็นโอกาสที่พ่อค้าจะกวาดซื้อราคาตกไซต์หรือราคาห้องเย็น กก.ละ 80-90 บาท บางรายเหลือ 75 บาท/กก. หรือต้องขายเหมาเป็นเกรดรวม กก.ละไม่ถึง 100 บาท ทั้งที่มีทุเรียนเกรด AB รวมไปด้วย เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ชาวสวนจะแขวนรอราคาอีก 15 วัน ให้สถานการณ์ขนส่งที่ด่านดีขึ้น อาจจะต้องเสี่ยงกับการเจอพายุ และทุเรียนที่แก่จัดจะเริ่มร่วง “ทุเรียนใต้เพิ่งเจอปัญหาปนเปื้อนสารแคดเมียม มาต่อปัญหาระบบการขนส่งที่ตู้ต้องติดอยู่ที่ด่าน ล้งหยุดรับซื้อกระทบต่อไปถึงชาวสวนที่ราคาทุเรียนตกฮวบทั้งที่ปริมาณทุเรียนเหลือน้อยลง และยังมีข่าวว่าจะมีพายุในช่วงกลางหรือปลายเดือนกันยายน 2567 อีก จำเป็นต้องมองตลาดภายใน โดยเฉพาะห้องเย็นที่เปิดรับซื้อไม่อั้น” นายดำรงศักดิ์กล่าว
ขณะนี้ผู้ส่งออกทุเรียนกำลังเผชิญปัญหาหนักอีกแล้ว หลังจากปัญหาทุเรียนไทยปนเปื้อนสารแคดเมียมยังไม่ทันจางหาย เกิดพายุและมีน้ำท่วมหนัก ส่งผลให้ถนนเส้นทางไปด่านโมฮาน อยู่ชายแดน สปป.ลาว-จีน ถูกตัดขาด และน้ำท่วม ส่งผลให้รถบรรทุกขนส่งผลไม้ทั้งทุเรียน ลำไย มังคุด ติดสะสมอยู่ที่ด่านนับ 100 ตู้ คาดว่าต้องใช้ระยะเวลานานถึง 15 วัน กว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยเฉพาะทุเรียนตู้ละ 2-3 ล้านบาท เสียหายหนัก คาดการณ์ว่าจากการส่งออกวันละ 40-50 ตู้ ทำให้มีตู้ค้างอยู่ในระยะ 4-5 วัน กว่าหลาย 100 ตู้ มูลค่าความเสียหายมากกว่า 100 ล้านบาท ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เบนเข็มกลับมาส่งออกทางด่านโหย่วอี้กวน ทางรถไฟและทางเรือ ปรากฏว่าต้องเผชิญกับการปรับราคาค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็น 2 เท่า ดังนั้น ผู้ประกอบการบางรายเลือกนำกลับมาขายให้ธุรกิจห้องเย็นทำทุเรียนแช่แข็งในราคาถูก
ฝ่ายเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว แจ้งว่าผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าข้ามแดนด่านบ่อเต็น-ด่านโมฮาน จากปัญหาอุทกภัยใน สปป.ลาว อันเนื่องมาจาก “พายุไต้ฝุ่นยางิ” ทำให้เกิดอุทกภัยระดับร้ายแรงในแขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาว ส่งผลให้มีผู้ประสบภัยจำนวนมาก และเส้นทางสัญจรอันเนื่องมาจากดินถล่ม ถนนชำรุด และน้ำท่วมสูง โดยเฉพาะเส้นทางขนส่งสินค้าไปยังด่านบ่อเต็น (เส้นทาง R3A) รวมทั้งยังมีน้ำท่วมสูงบริเวณด่านบ่อเต็นฝั่งลาว ปัจจุบันด่านโมฮานฝั่งจีนไม่มีการประกาศระงับการขนส่งสินค้าข้ามแดน และสามารถรองรับการขนส่งสินค้าข้ามแดนจากฝั่งลาวได้ แต่มีอุปสรรคที่รถสินค้าจากฝั่งลาว ไม่สามารถเดินทางไปยังด่านโมฮานของจีนได้ อีกทั้งลานสินค้าฝั่งลาวไม่สามารถรองรับรถสินค้าของจีนได้ เนื่องจากชายแดนด่านบ่อเต็นและเส้นทางขนส่งสินค้าข้ามแดนที่เชื่อมจากด่านบ่อเต็นของลาวไปยังด่านโมฮานของจีนมีน้ำท่วมสูง ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรตรวจสอบข้อมูลก่อนการส่งออกสินค้าผ่าน สปป.ลาว ไปยังด่านบ่อเต็น-โมฮาน นายมณฑล ปริวัฒน์ ผู้บริหาร บริษัท อรษา ฟรุ๊ต จำกัด ผู้ส่งออกมังคุดไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าปัญหาการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ผลไม้ไปติดที่บริเวณด่านโมฮานเป็นจำนวนมากนั้น ความเสียหายรวมๆ น่าจะประมาณ 100 ล้านบาท จากราคาทุเรียนตู้ละประมาณ 3-4 ล้านบาท มังคุด 3 ล้านบาท ผู้ประกอบการบางรายประเมินว่าน่าจะใช้เวลารอเคลียร์ 1-2 สัปดาห์ จึงมีการเปลี่ยนเส้นทางขนส่งไปใช้ทางอื่น เช่น ทางรถไฟ ทางเรือ หรือไปใช้ด่านโหย่วอี้กวนทางด้าน จ.นครพนม ซึ่งทำให้ด่านโหย่วอี้กวนมีปริมาณรถสะสมจำนวนมากเช่นกัน และใช้เวลาขนส่งผ่านด่านนานถึง 7 วัน จากปกติ 2-3 วัน เนื่องจากที่ด่านจะมีการสุ่มตรวจแมลงและศัตรูพืช 30% และตรวจเข้มสารปนเปื้อนแคดเมียม หรือขนกลับมาขายให้ห้องเย็น “สถานการณ์ขนส่งตอนนี้เทียบเท่ากับช่วงโควิด-19 ทั้งเส้นทางขนส่งไปด่านโมฮานประมาณ 400 กิโลเมตร เสียหายหนัก การเปลี่ยนการขนส่งไปด่านอื่นต้องเสียค่าขนส่งเพิ่มขึ้นบางรายขนกลับมาขายราคาถูกให้ห้องเย็นหากเปลี่ยนไปใช้ทางรถไฟ ทางเรือ ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ต้องเสียค่าเช่าตู้ใหม่ เพราะเดิมเป็นตู้คอนเทนเนอร์ทางบกค่าขนส่งเพิ่มขึ้น และการขนส่งทางรถไฟจะไม่มีการจองพื้นที่ ต้องรอพื้นที่ว่างและต่อคิว และค่าขนส่งปรับราคาเพิ่มขึ้นทั้งทางเรือ ทางเครื่องบิน รถไฟ แต่การส่งออกไปตลาดปลายทางยังเสียหายน้อยกว่าแต่นำกลับมาตลาดภายในประเทศต้องขายในราคาห้องเย็น ที่สำคัญเสียโอกาสการทำตลาดในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ในวันที่ 17 กันยายน 2567” นายมณฑลกล่าว
ทางด้านบริษัทผู้ส่งออกทุเรียนแห่งหนึ่งใน จ.ชุมพร กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าปกติจะใช้การขนส่งผ่านด่านโหย่วอี้กวนที่ออกทาง จ.นครพนม ผ่าน สปป.ลาวไปด่านเวียดนาม ปกติใช้เวลาขนส่ง 5-7 วัน ซึ่งที่ผ่านมาด่านโมฮานมีปัญหาน้ำท่วมฝนตกหนัก มีผู้ประกอบการย้ายไปขนส่งทางโหย่วอี้กวน ทำให้ช่วง 4-5 วันที่ผ่านมาด่านมีความแออัดต้องใช้ระยะเวลานานขึ้น เพราะมีการตรวจแมลงศัตรูพืชและแคดเมียมด้วย แต่ได้เข้าสู่สถานการณ์ปกติแล้ว เพราะเป็นช่วงที่ปริมาณทุเรียนไทยส่งออกน้อยเฉลี่ยวันละ 30-40 ตู้ “จากสถานการณ์ขนส่งตู้ติดอยู่ด่านใช้เวลาเพิ่มขึ้นปกติผู้ส่งออกต้องปรับตัวชะลอการสุกทุเรียนให้นานวันขึ้นใช้น้ำยาป้ายขั้วให้สุกช้าลงจาก 7 วัน เป็น 10 วัน และใช้ระยะเวลาการบ่มน้อยลงจาก 10 วัน เหลือ 8 วัน เพราะถ้าไปติดที่ด่านแล้วขนกลับหรือส่งออกไม่ทันระยะเวลาเกิน 3-4 วัน ทุเรียนจะแตกเสียหายขาดทุน ส่วนใหญ่จะย้ายด่านส่งออกไปโหย่วอี้กวน เพราะเอกสารส่งออกทำไว้แล้ว แต่จะเสียค่าขนส่งเพิ่มขึ้นตู้ละ 30,000-40,000 บาท จากปกติตู้ละ 180,000-190,000 บาท เพิ่มขึ้นตู้ละ 220,000-230,000 บาท ถ้าเอากลับต้นทุนตู้ละ 2.5 ล้านบาท ขายภายในประเทศจะได้ 1.5 ล้านเท่านั้น แต่ถ้าส่งออกได้ต้นทุนเพิ่ม แต่จะขาดทุนน้อยกว่าผู้ประกอบการคาดว่าช่วงไหว้พระจันทร์ปีนี้จะราคาดีกว่าปีก่อนที่ราคาไม่ดีนัก แต่ตอนนี้แผงปิดหลายแห่ง แต่ราคาไม่ลงมากนัก กก.ละ 120-130 บาท เพราะยังต้องซื้อแข่งกับทุเรียนเวียดนาม” แหล่งข่าวกล่าว ด้าน นายภาณุวัชน์ ไหมแก้ว นายกสมาคมผู้ส่งออกทุเรียน มังคุด กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า น้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติที่สุดวิสัย แต่ปัญหายังไม่หนักเท่าสารปนเปื้อนแคดเมียม ทำให้มีปัญหาตลาดปลายทาง ช่วงที่น้ำท่วมเส้นทางไปด่านโมฮาน ทางบ่อเต็นของลาว บริษัทชิปปิ้งจะต้องเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งไทย-ลาว-จีนไปด่านบก ด้าน จ.นครพนมไปด่านโหย่วอี้กวนรวมทั้งใช้ขนส่งทางรถไฟ จาก จ.หนองคาย เข้าที่ท่านาแล้ง สปป.ลาว และทางเรือที่แหลมฉบัง ที่ผ่านมาพบปัญหาการถ่ายตู้จากทางบกมาใส่ตู้รถไฟ และตู้ขนส่งทางเรือ ซึ่งต้องเปลี่ยนระหว่างทาง หลังออกมาจากโรงคัดบรรจุ จ.ชุมพร จ.นครศรีธรรมราชแล้ว การเปลี่ยนตู้เพื่อส่งออกอีกรอบเท่ากับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 2 เด้ง ทั้งค่าตู้ ค่าหัวรถลาก และเสียเวลามากขึ้น ผู้ประกอบการต้องการให้หน่วยราชการที่จัดทำเอกสารส่งออกช่วยอำนวยความสะดวกเมื่อต้องเปลี่ยนระบบการขนส่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้การระบายผลไม้ออกไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่เช่นนั้นทุเรียนจะเสียหายต้องนำกลับมาขายราคาตลาดห้องเย็น
ด้าน นายดำรงศักดิ์ สินศักดิ์ ประธานศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ต.บ้านนา อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ทุเรียนที่ติดอยู่ที่ด่านโมฮานเป็นจำนวนกว่า 100 ตู้ คาดว่าจะใช้เวลาเคลียร์ประมาณ 15 วัน ซึ่งจะทำให้ล้งขาดทุน เสียหายเป็นจำนวนมาก จากราคาทุเรียนตู้ละ 3-4 ล้านบาท ทำให้ผู้รับซื้อทุเรียนที่ จ.ชุมพร รายใหญ่ ๆ หยุดรับซื้อกันหลายราย และปรับราคาลง ราคาที่คาดว่าในช่วงต้นเดือนกันยายนจะเพิ่มขึ้น กก.ละ 180-190 บาท เพราะใกล้หมดฤดู ราคากลับดิ่งลงไปเหลือ 120-130 บาท เป็นโอกาสที่พ่อค้าจะกวาดซื้อราคาตกไซต์หรือราคาห้องเย็น กก.ละ 80-90 บาท บางรายเหลือ 75 บาท/กก. หรือต้องขายเหมาเป็นเกรดรวม กก.ละไม่ถึง 100 บาท ทั้งที่มีทุเรียนเกรด AB รวมไปด้วย เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ชาวสวนจะแขวนรอราคาอีก 15 วัน ให้สถานการณ์ขนส่งที่ด่านดีขึ้น อาจจะต้องเสี่ยงกับการเจอพายุ และทุเรียนที่แก่จัดจะเริ่มร่วง “ทุเรียนใต้เพิ่งเจอปัญหาปนเปื้อนสารแคดเมียม มาต่อปัญหาระบบการขนส่งที่ตู้ต้องติดอยู่ที่ด่าน ล้งหยุดรับซื้อกระทบต่อไปถึงชาวสวนที่ราคาทุเรียนตกฮวบทั้งที่ปริมาณทุเรียนเหลือน้อยลง และยังมีข่าวว่าจะมีพายุในช่วงกลางหรือปลายเดือนกันยายน 2567 อีก จำเป็นต้องมองตลาดภายใน โดยเฉพาะห้องเย็นที่เปิดรับซื้อไม่อั้น” นายดำรงศักดิ์กล่าว
ขณะนี้ผู้ส่งออกทุเรียนกำลังเผชิญปัญหาหนักอีกแล้ว หลังจากปัญหาทุเรียนไทยปนเปื้อนสารแคดเมียมยังไม่ทันจางหาย เกิดพายุและมีน้ำท่วมหนัก ส่งผลให้ถนนเส้นทางไปด่านโมฮาน อยู่ชายแดน สปป.ลาว-จีน ถูกตัดขาด และน้ำท่วม ส่งผลให้รถบรรทุกขนส่งผลไม้ทั้งทุเรียน ลำไย มังคุด ติดสะสมอยู่ที่ด่านนับ 100 ตู้ คาดว่าต้องใช้ระยะเวลานานถึง 15 วัน กว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยเฉพาะทุเรียนตู้ละ 2-3 ล้านบาท เสียหายหนัก คาดการณ์ว่าจากการส่งออกวันละ 40-50 ตู้ ทำให้มีตู้ค้างอยู่ในระยะ 4-5 วัน กว่าหลาย 100 ตู้ มูลค่าความเสียหายมากกว่า 100 ล้านบาท ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เบนเข็มกลับมาส่งออกทางด่านโหย่วอี้กวน ทางรถไฟและทางเรือ ปรากฏว่าต้องเผชิญกับการปรับราคาค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็น 2 เท่า ดังนั้น ผู้ประกอบการบางรายเลือกนำกลับมาขายให้ธุรกิจห้องเย็นทำทุเรียนแช่แข็งในราคาถูก
ฝ่ายเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว แจ้งว่าผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าข้ามแดนด่านบ่อเต็น-ด่านโมฮาน จากปัญหาอุทกภัยใน สปป.ลาว อันเนื่องมาจาก “พายุไต้ฝุ่นยางิ” ทำให้เกิดอุทกภัยระดับร้ายแรงในแขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาว ส่งผลให้มีผู้ประสบภัยจำนวนมาก และเส้นทางสัญจรอันเนื่องมาจากดินถล่ม ถนนชำรุด และน้ำท่วมสูง โดยเฉพาะเส้นทางขนส่งสินค้าไปยังด่านบ่อเต็น (เส้นทาง R3A) รวมทั้งยังมีน้ำท่วมสูงบริเวณด่านบ่อเต็นฝั่งลาว ปัจจุบันด่านโมฮานฝั่งจีนไม่มีการประกาศระงับการขนส่งสินค้าข้ามแดน และสามารถรองรับการขนส่งสินค้าข้ามแดนจากฝั่งลาวได้ แต่มีอุปสรรคที่รถสินค้าจากฝั่งลาว ไม่สามารถเดินทางไปยังด่านโมฮานของจีนได้ อีกทั้งลานสินค้าฝั่งลาวไม่สามารถรองรับรถสินค้าของจีนได้ เนื่องจากชายแดนด่านบ่อเต็นและเส้นทางขนส่งสินค้าข้ามแดนที่เชื่อมจากด่านบ่อเต็นของลาวไปยังด่านโมฮานของจีนมีน้ำท่วมสูง ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรตรวจสอบข้อมูลก่อนการส่งออกสินค้าผ่าน สปป.ลาว ไปยังด่านบ่อเต็น-โมฮาน นายมณฑล ปริวัฒน์ ผู้บริหาร บริษัท อรษา ฟรุ๊ต จำกัด ผู้ส่งออกมังคุดไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าปัญหาการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ผลไม้ไปติดที่บริเวณด่านโมฮานเป็นจำนวนมากนั้น ความเสียหายรวมๆ น่าจะประมาณ 100 ล้านบาท จากราคาทุเรียนตู้ละประมาณ 3-4 ล้านบาท มังคุด 3 ล้านบาท ผู้ประกอบการบางรายประเมินว่าน่าจะใช้เวลารอเคลียร์ 1-2 สัปดาห์ จึงมีการเปลี่ยนเส้นทางขนส่งไปใช้ทางอื่น เช่น ทางรถไฟ ทางเรือ หรือไปใช้ด่านโหย่วอี้กวนทางด้าน จ.นครพนม ซึ่งทำให้ด่านโหย่วอี้กวนมีปริมาณรถสะสมจำนวนมากเช่นกัน และใช้เวลาขนส่งผ่านด่านนานถึง 7 วัน จากปกติ 2-3 วัน เนื่องจากที่ด่านจะมีการสุ่มตรวจแมลงและศัตรูพืช 30% และตรวจเข้มสารปนเปื้อนแคดเมียม หรือขนกลับมาขายให้ห้องเย็น “สถานการณ์ขนส่งตอนนี้เทียบเท่ากับช่วงโควิด-19 ทั้งเส้นทางขนส่งไปด่านโมฮานประมาณ 400 กิโลเมตร เสียหายหนัก การเปลี่ยนการขนส่งไปด่านอื่นต้องเสียค่าขนส่งเพิ่มขึ้นบางรายขนกลับมาขายราคาถูกให้ห้องเย็นหากเปลี่ยนไปใช้ทางรถไฟ ทางเรือ ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ต้องเสียค่าเช่าตู้ใหม่ เพราะเดิมเป็นตู้คอนเทนเนอร์ทางบกค่าขนส่งเพิ่มขึ้น และการขนส่งทางรถไฟจะไม่มีการจองพื้นที่ ต้องรอพื้นที่ว่างและต่อคิว และค่าขนส่งปรับราคาเพิ่มขึ้นทั้งทางเรือ ทางเครื่องบิน รถไฟ แต่การส่งออกไปตลาดปลายทางยังเสียหายน้อยกว่าแต่นำกลับมาตลาดภายในประเทศต้องขายในราคาห้องเย็น ที่สำคัญเสียโอกาสการทำตลาดในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ในวันที่ 17 กันยายน 2567” นายมณฑลกล่าว
ทางด้านบริษัทผู้ส่งออกทุเรียนแห่งหนึ่งใน จ.ชุมพร กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าปกติจะใช้การขนส่งผ่านด่านโหย่วอี้กวนที่ออกทาง จ.นครพนม ผ่าน สปป.ลาวไปด่านเวียดนาม ปกติใช้เวลาขนส่ง 5-7 วัน ซึ่งที่ผ่านมาด่านโมฮานมีปัญหาน้ำท่วมฝนตกหนัก มีผู้ประกอบการย้ายไปขนส่งทางโหย่วอี้กวน ทำให้ช่วง 4-5 วันที่ผ่านมาด่านมีความแออัดต้องใช้ระยะเวลานานขึ้น เพราะมีการตรวจแมลงศัตรูพืชและแคดเมียมด้วย แต่ได้เข้าสู่สถานการณ์ปกติแล้ว เพราะเป็นช่วงที่ปริมาณทุเรียนไทยส่งออกน้อยเฉลี่ยวันละ 30-40 ตู้ “จากสถานการณ์ขนส่งตู้ติดอยู่ด่านใช้เวลาเพิ่มขึ้นปกติผู้ส่งออกต้องปรับตัวชะลอการสุกทุเรียนให้นานวันขึ้นใช้น้ำยาป้ายขั้วให้สุกช้าลงจาก 7 วัน เป็น 10 วัน และใช้ระยะเวลาการบ่มน้อยลงจาก 10 วัน เหลือ 8 วัน เพราะถ้าไปติดที่ด่านแล้วขนกลับหรือส่งออกไม่ทันระยะเวลาเกิน 3-4 วัน ทุเรียนจะแตกเสียหายขาดทุน ส่วนใหญ่จะย้ายด่านส่งออกไปโหย่วอี้กวน เพราะเอกสารส่งออกทำไว้แล้ว แต่จะเสียค่าขนส่งเพิ่มขึ้นตู้ละ 30,000-40,000 บาท จากปกติตู้ละ 180,000-190,000 บาท เพิ่มขึ้นตู้ละ 220,000-230,000 บาท ถ้าเอากลับต้นทุนตู้ละ 2.5 ล้านบาท ขายภายในประเทศจะได้ 1.5 ล้านเท่านั้น แต่ถ้าส่งออกได้ต้นทุนเพิ่ม แต่จะขาดทุนน้อยกว่าผู้ประกอบการคาดว่าช่วงไหว้พระจันทร์ปีนี้จะราคาดีกว่าปีก่อนที่ราคาไม่ดีนัก แต่ตอนนี้แผงปิดหลายแห่ง แต่ราคาไม่ลงมากนัก กก.ละ 120-130 บาท เพราะยังต้องซื้อแข่งกับทุเรียนเวียดนาม” แหล่งข่าวกล่าว ด้าน นายภาณุวัชน์ ไหมแก้ว นายกสมาคมผู้ส่งออกทุเรียน มังคุด กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า น้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติที่สุดวิสัย แต่ปัญหายังไม่หนักเท่าสารปนเปื้อนแคดเมียม ทำให้มีปัญหาตลาดปลายทาง ช่วงที่น้ำท่วมเส้นทางไปด่านโมฮาน ทางบ่อเต็นของลาว บริษัทชิปปิ้งจะต้องเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งไทย-ลาว-จีนไปด่านบก ด้าน จ.นครพนมไปด่านโหย่วอี้กวนรวมทั้งใช้ขนส่งทางรถไฟ จาก จ.หนองคาย เข้าที่ท่านาแล้ง สปป.ลาว และทางเรือที่แหลมฉบัง ที่ผ่านมาพบปัญหาการถ่ายตู้จากทางบกมาใส่ตู้รถไฟ และตู้ขนส่งทางเรือ ซึ่งต้องเปลี่ยนระหว่างทาง หลังออกมาจากโรงคัดบรรจุ จ.ชุมพร จ.นครศรีธรรมราชแล้ว การเปลี่ยนตู้เพื่อส่งออกอีกรอบเท่ากับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 2 เด้ง ทั้งค่าตู้ ค่าหัวรถลาก และเสียเวลามากขึ้น ผู้ประกอบการต้องการให้หน่วยราชการที่จัดทำเอกสารส่งออกช่วยอำนวยความสะดวกเมื่อต้องเปลี่ยนระบบการขนส่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้การระบายผลไม้ออกไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่เช่นนั้นทุเรียนจะเสียหายต้องนำกลับมาขายราคาตลาดห้องเย็น
ด้าน นายดำรงศักดิ์ สินศักดิ์ ประธานศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ต.บ้านนา อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ทุเรียนที่ติดอยู่ที่ด่านโมฮานเป็นจำนวนกว่า 100 ตู้ คาดว่าจะใช้เวลาเคลียร์ประมาณ 15 วัน ซึ่งจะทำให้ล้งขาดทุน เสียหายเป็นจำนวนมาก จากราคาทุเรียนตู้ละ 3-4 ล้านบาท ทำให้ผู้รับซื้อทุเรียนที่ จ.ชุมพร รายใหญ่ ๆ หยุดรับซื้อกันหลายราย และปรับราคาลง ราคาที่คาดว่าในช่วงต้นเดือนกันยายนจะเพิ่มขึ้น กก.ละ 180-190 บาท เพราะใกล้หมดฤดู ราคากลับดิ่งลงไปเหลือ 120-130 บาท เป็นโอกาสที่พ่อค้าจะกวาดซื้อราคาตกไซต์หรือราคาห้องเย็น กก.ละ 80-90 บาท บางรายเหลือ 75 บาท/กก. หรือต้องขายเหมาเป็นเกรดรวม กก.ละไม่ถึง 100 บาท ทั้งที่มีทุเรียนเกรด AB รวมไปด้วย เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ชาวสวนจะแขวนรอราคาอีก 15 วัน ให้สถานการณ์ขนส่งที่ด่านดีขึ้น อาจจะต้องเสี่ยงกับการเจอพายุ และทุเรียนที่แก่จัดจะเริ่มร่วง “ทุเรียนใต้เพิ่งเจอปัญหาปนเปื้อนสารแคดเมียม มาต่อปัญหาระบบการขนส่งที่ตู้ต้องติดอยู่ที่ด่าน ล้งหยุดรับซื้อกระทบต่อไปถึงชาวสวนที่ราคาทุเรียนตกฮวบทั้งที่ปริมาณทุเรียนเหลือน้อยลง และยังมีข่าวว่าจะมีพายุในช่วงกลางหรือปลายเดือนกันยายน 2567 อีก จำเป็นต้องมองตลาดภายใน โดยเฉพาะห้องเย็นที่เปิดรับซื้อไม่อั้น” นายดำรงศักดิ์กล่าว