พันธุ์ทุเรียนที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ

ควรเลือกใช้พันธุ์ที่มีคุณภาพที่ดีและตรงตามความต้องการของตลาด พันธุ์ที่การค้านิยม ได้แก่ หนอนทอง ชะนี กระดุม ก้านยาว เป็นต้น ต้นพันธุ์ที่นำมาใช้ควรมีความแข็งแรง ตรงตามพันธุ์ ใช้ต้นตรงตามพันธุ์ ใช้ต้นตอจากพื้นเมืองของถิ่นฐานนั้น ๆ เพื่อให้ทนทานป้องกันการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าที่จะเกิดขึ้น ระบบของรากต้องไม่ขดงอ ใบสมบูรณ์และเขียวเข้มพันธุ์

หลักในการพิจารณาต้นพันธุ์จะมี 2 ประเภทดังนี้
1. พันธุ์ที่นิยมตรงตรมความต้องการของตลาด
2. พันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง ทนทานต่อโรคเจริญเติบโตได้เร็ว

สภาพพื้นที่เหมาะสมในการปลูกตามกรมวิชาการเกษตรแนะนำ

สภาพพื้นที่ ดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง สูงจากระดับน้ำทะเล 0-650 เมตร ความลาดเอียง 1-3% มีการระบายน้ำดี หน้าดินลึกกว่า 50 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร และมีความเป็นกรด-ด่าง 5.5-6.5

สภาพภูมิอากาศ อากาศร้อนชื้น ฝนกระจายตัวดี มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,600-3,000 มิลลิเมตร/ปี มีช่วงแล้งต่อเนื่องน้อยกว่า 3 เดือน/ปี และความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 30% แหล่งน้ำ มีเพียงพอในการผลิตทุเรียนตลอดปี ประมาณ 600-800 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำระหว่าง 6.0-7.5 มีสารละลายเกลือไม่มากกว่า 1,400 มิลลิโมล

ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สภาพพื้นดินสภาพอากาศและแหล่งน้ำที่ดีส่งผลให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตได้ดีลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยและยา

หลักในการพิจารณาสภาพพื้นที่จะมี 3 ประเภทดังนี้
1. สภาพพื้นที่พื้นดิน
2. สภาพภูมิอากาศ
3. แหล่งน้ำ

การเตรียมพื้นที่ปลูกตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

พื้นที่ดอน ไถพรวน ปรับพื้นที่ให้เรียบเพื่อสะดวกในการวางระบบน้ำและการจัดการสวน รวมทั้งขุดร่องระบายน้ำ พื้นที่ลุ่ม ควรยกโคกและปลูกด้านบน หากมีน้ำท่วมขังมากและนาน ควรยกร่องสวนให้มีขนาดสันร่องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร มีระบบระบายน้ำเข้า-ออกเป็นอย่างดี

สรุป ในการมีสภาพพื้นที่ปลูกที่พร้อมเหมาะสม สามารถช่วยลดปัญหาน้ำท่อมขังและรากเน่าโคนเน่าได้

หลักการในการปลูกตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

การวางผังปลูก มี 2 ระบบ คือ ระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูก 8-10 เมตร เหมาะกับพื้นที่ค่อนข้างเรียบ และระบบแถวกว้าง ต้นชิด ระยะระหว่างต้น 30-50% ของระยะแถว และมีการวางแถวปลูกในแนวเหนือใต้ มีด้านกว้าง ระหว่างแถวขวางแนวขึ้นลงของพระอาทิตย์
วิธีการปลูก มี 2 แบบ คือ การปลูกแบบเตรียมหลุมปลูก เหมาะกับพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง และการปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคก เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก เพื่อช่วยให้ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น

สรุป การวางผังปลูกที่เหมาะสม ทำให้สะดวกในการจัดการแปลง การดูแลรักษา และช่วยให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ

หลักการในการปลูกตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและความต้องการของพืช ลดต้นทุนปุ๋ย 20-40%
ผสมปุ๋ยใช้เอง ลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้ 30-50%
ให้ปุ๋ยในระบบน้ำ ลดต้นทุนการใช้แรงงาน 10%
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ

หลักการในการวางระบบน้ำตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

การให้น้ำก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญกับทุเรียน เพราะช่วงระยะของการให้น้ำแต่ละช่วงต่างกันออกไป เช่น ให้น้ำช่วงเร่งใบ เร่งดอกก็ต่างกันออกไปกรมวิชาการเกษตรแนะนำว่า ควรให้น้ำเพียงพอกับความต้องการของทุเรียนในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในช่วงหลังการออกดอกและการพัฒนาของผล ใช้ระบบให้น้ำแบบมินิสปริงเกอร์และควรให้ปุ๋ยพร้อมระบบน้ำ สรุป วางระบบน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ไม่มีประสิทธิภาพ

การดูแลรักษาต้นทุเรียน คำแนะนำกรมวิชาการเกษตร

การพรางแสง ให้ร่มเงาหรือพรางแสงในช่วงแรกของการเจริญเติบโต อาจใช้วัสดุธรรมชาติช่วยพรางแสง หรืออาจปลูกต้นไม้โตเร็วระหว่างแถวทุเรียน เช่น กล้วย ทองหลาง
การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่ม หลังปลูก 1-1.5 ปี ควรตัดแต่งให้มีลำต้นเดี่ยว กำหนดกิ่งประธาน แต่ละกิ่งควรห่างกัน 10-15 เซนติเมตร กิ่งประธานแต่ละกิ่งมีกิ่งรอง 3-4 กิ่ง และกิ่งรองแต่ละกิ่งจะมีกิ่งแขนงพอประมาณละไม่บังแสงซึ่งกันและกัน การตัดแต่งผล ตัดแต่งผลที่มีขนาดเล็ก รูปทรงบิดเบี้ยว และไม่อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการออก โดยเหลือผลไว้ประมาณ 2-3 เท่า ของจำนวนผลที่ต้องการไว้จริง (โดยการประเมินจำนวน 1 ผลต่อใบสมบูรณ์ประมาณ 330 ใบ) ตัดแต่ง 5 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เมื่อผลอายุ 4-5 สัปดาห์หลังดอกบาน
ครั้งที่ 2 เมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์
ครั้งที่ 3 เมื่อผลอายุ 8 สัปดาห์
ครั้งที่ 4 เมื่อผลอายุ 9 สัปดาห์
ครั้งที่ 5 เมื่อผลอายุ 10-12 สัปดาห์
สรุป การที่มีการตัดแต่งกิ่งช่วยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตได้เร็ว เจริญเติบโตได้ดี ช่วยควบคุมทรงพุ่มให้เหมาะสมเพื่อลดแรงงานในการพ่นสารเคมี กิ่งและใบที่เป็นโรคไม่ลุกลามเข้าทำลายต่อ และยังส่งผลให้ผลผลิตไม่ความสมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพที่ดีตรงกับความต้องการของตลาด

การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

สำรวจและประเมินความเสียหายของการถูกทำลายจากโรคหรือแมลงก่อนการใช้สารเคมีป้องกันกำจัด และควรใช้ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร โรคที่สำคัญ คือ โรคจากเชื้อราไฟทอปธอร่าเข้าทำลาย ดอก ใบ ลำต้น และราก โรคแอนแทรคโนสเข้าทำลายดอก โรคผลเน่า
แมลงศัตรูที่สำคัญ จำแนกตามส่วนที่เข้าทำลาย
- ใบ : เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยจักจั่นฝอย หนอนกินใบ ไรแดง
- ดอก : เพลี้ยไฟ หนอนกินดอก
- ผล : หนอนกินขั้วผล หนอนเจาะขั้ว หนอนเจาะเมล็ด
การป้องกันกำจัดวัชพืช ตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตร
วัชพืชฤดูเดียว เช่นหญ้าขจรจบ หญ้าตีนนก และวัชพืชข้ามปี เช่น หญ้าคา หญ้าชันกาด แห้วหมู กำจัดโดยใช้สารเคมี หรือตัดวัชพืชให้สั้นด้วยเครื่องตัดหญ้าทุก 1-2 เดือน

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม-รวมส่งฟรี

พันธุ์ทุเรียนที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ

ควรเลือกใช้พันธุ์ที่มีคุณภาพที่ดีและตรงตามความต้องการของตลาด พันธุ์ที่การค้านิยม ได้แก่ หนอนทอง ชะนี กระดุม ก้านยาว เป็นต้น ต้นพันธุ์ที่นำมาใช้ควรมีความแข็งแรง ตรงตามพันธุ์ ใช้ต้นตรงตามพันธุ์ ใช้ต้นตอจากพื้นเมืองของถิ่นฐานนั้น ๆ เพื่อให้ทนทานป้องกันการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าที่จะเกิดขึ้น ระบบของรากต้องไม่ขดงอ ใบสมบูรณ์และเขียวเข้มพันธุ์

หลักในการพิจารณาต้นพันธุ์จะมี 2 ประเภทดังนี้
1. พันธุ์ที่นิยมตรงตรมความต้องการของตลาด
2. พันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง ทนทานต่อโรคเจริญเติบโตได้เร็ว

สภาพพื้นที่เหมาะสมในการปลูกตามกรมวิชาการเกษตรแนะนำ

สภาพพื้นที่ ดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง สูงจากระดับน้ำทะเล 0-650 เมตร ความลาดเอียง 1-3% มีการระบายน้ำดี หน้าดินลึกกว่า 50 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร และมีความเป็นกรด-ด่าง 5.5-6.5

สภาพภูมิอากาศ อากาศร้อนชื้น ฝนกระจายตัวดี มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,600-3,000 มิลลิเมตร/ปี มีช่วงแล้งต่อเนื่องน้อยกว่า 3 เดือน/ปี และความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 30% แหล่งน้ำ มีเพียงพอในการผลิตทุเรียนตลอดปี ประมาณ 600-800 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ ความเป็นกรด-ด่างของน้ำระหว่าง 6.0-7.5 มีสารละลายเกลือไม่มากกว่า 1,400 มิลลิโมล

ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สภาพพื้นดินสภาพอากาศและแหล่งน้ำที่ดีส่งผลให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตได้ดีลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยและยา

หลักในการพิจารณาสภาพพื้นที่จะมี 3 ประเภทดังนี้
1. สภาพพื้นที่พื้นดิน
2. สภาพภูมิอากาศ
3. แหล่งน้ำ

การเตรียมพื้นที่ปลูกตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

พื้นที่ดอน ไถพรวน ปรับพื้นที่ให้เรียบเพื่อสะดวกในการวางระบบน้ำและการจัดการสวน รวมทั้งขุดร่องระบายน้ำ พื้นที่ลุ่ม ควรยกโคกและปลูกด้านบน หากมีน้ำท่วมขังมากและนาน ควรยกร่องสวนให้มีขนาดสันร่องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร มีระบบระบายน้ำเข้า-ออกเป็นอย่างดี

สรุป ในการมีสภาพพื้นที่ปลูกที่พร้อมเหมาะสม สามารถช่วยลดปัญหาน้ำท่อมขังและรากเน่าโคนเน่าได้

หลักการในการปลูกตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

การวางผังปลูก มี 2 ระบบ คือ ระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูก 8-10 เมตร เหมาะกับพื้นที่ค่อนข้างเรียบ และระบบแถวกว้าง ต้นชิด ระยะระหว่างต้น 30-50% ของระยะแถว และมีการวางแถวปลูกในแนวเหนือใต้ มีด้านกว้าง ระหว่างแถวขวางแนวขึ้นลงของพระอาทิตย์
วิธีการปลูก มี 2 แบบ คือ การปลูกแบบเตรียมหลุมปลูก เหมาะกับพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง และการปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคก เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก เพื่อช่วยให้ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น

สรุป การวางผังปลูกที่เหมาะสม ทำให้สะดวกในการจัดการแปลง การดูแลรักษา และช่วยให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ

หลักการในการปลูกตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและความต้องการของพืช ลดต้นทุนปุ๋ย 20-40%
ผสมปุ๋ยใช้เอง ลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้ 30-50%
ให้ปุ๋ยในระบบน้ำ ลดต้นทุนการใช้แรงงาน 10%
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ

หลักการในการวางระบบน้ำตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

การให้น้ำก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญกับทุเรียน เพราะช่วงระยะของการให้น้ำแต่ละช่วงต่างกันออกไป เช่น ให้น้ำช่วงเร่งใบ เร่งดอกก็ต่างกันออกไปกรมวิชาการเกษตรแนะนำว่า ควรให้น้ำเพียงพอกับความต้องการของทุเรียนในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต โดยเฉพาะในช่วงหลังการออกดอกและการพัฒนาของผล ใช้ระบบให้น้ำแบบมินิสปริงเกอร์และควรให้ปุ๋ยพร้อมระบบน้ำ สรุป วางระบบน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ไม่มีประสิทธิภาพ

การดูแลรักษาต้นทุเรียน คำแนะนำกรมวิชาการเกษตร

การพรางแสง ให้ร่มเงาหรือพรางแสงในช่วงแรกของการเจริญเติบโต อาจใช้วัสดุธรรมชาติช่วยพรางแสง หรืออาจปลูกต้นไม้โตเร็วระหว่างแถวทุเรียน เช่น กล้วย ทองหลาง
การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่ม หลังปลูก 1-1.5 ปี ควรตัดแต่งให้มีลำต้นเดี่ยว กำหนดกิ่งประธาน แต่ละกิ่งควรห่างกัน 10-15 เซนติเมตร กิ่งประธานแต่ละกิ่งมีกิ่งรอง 3-4 กิ่ง และกิ่งรองแต่ละกิ่งจะมีกิ่งแขนงพอประมาณละไม่บังแสงซึ่งกันและกัน การตัดแต่งผล ตัดแต่งผลที่มีขนาดเล็ก รูปทรงบิดเบี้ยว และไม่อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการออก โดยเหลือผลไว้ประมาณ 2-3 เท่า ของจำนวนผลที่ต้องการไว้จริง (โดยการประเมินจำนวน 1 ผลต่อใบสมบูรณ์ประมาณ 330 ใบ) ตัดแต่ง 5 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เมื่อผลอายุ 4-5 สัปดาห์หลังดอกบาน
ครั้งที่ 2 เมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์
ครั้งที่ 3 เมื่อผลอายุ 8 สัปดาห์
ครั้งที่ 4 เมื่อผลอายุ 9 สัปดาห์
ครั้งที่ 5 เมื่อผลอายุ 10-12 สัปดาห์
สรุป การที่มีการตัดแต่งกิ่งช่วยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตได้เร็ว เจริญเติบโตได้ดี ช่วยควบคุมทรงพุ่มให้เหมาะสมเพื่อลดแรงงานในการพ่นสารเคมี กิ่งและใบที่เป็นโรคไม่ลุกลามเข้าทำลายต่อ และยังส่งผลให้ผลผลิตไม่ความสมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพที่ดีตรงกับความต้องการของตลาด

การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

สำรวจและประเมินความเสียหายของการถูกทำลายจากโรคหรือแมลงก่อนการใช้สารเคมีป้องกันกำจัด และควรใช้ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร โรคที่สำคัญ คือ โรคจากเชื้อราไฟทอปธอร่าเข้าทำลาย ดอก ใบ ลำต้น และราก โรคแอนแทรคโนสเข้าทำลายดอก โรคผลเน่า
แมลงศัตรูที่สำคัญ จำแนกตามส่วนที่เข้าทำลาย
- ใบ : เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยจักจั่นฝอย หนอนกินใบ ไรแดง
- ดอก : เพลี้ยไฟ หนอนกินดอก
- ผล : หนอนกินขั้วผล หนอนเจาะขั้ว หนอนเจาะเมล็ด
การป้องกันกำจัดวัชพืช ตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตร
วัชพืชฤดูเดียว เช่นหญ้าขจรจบ หญ้าตีนนก และวัชพืชข้ามปี เช่น หญ้าคา หญ้าชันกาด แห้วหมู กำจัดโดยใช้สารเคมี หรือตัดวัชพืชให้สั้นด้วยเครื่องตัดหญ้าทุก 1-2 เดือน

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

@turianyim

ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

29/27 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ
จังหวัดจันทบุรี 22210

ติดตามเรา

ติดต่อเรา

ติดตาม ปุ๋ยทุเรียนยิ้ม

จำนวนคนดู: 331